<< Go Back

 

 
           1. สำรวจ และวิเคราะห์ฉลากสารปรุงรสอาหารเพื่อตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
           2. ทดลอง อภิปราย และอธิบายการใช้สารปรุงรสอาหาร อย่างถูกต้องและปลอดภัย

   

1. เกลือป่น 2. น้ำปลา
3. เต้าเจี้ยว 4. น้ำตาลทราย
5. น้ำตาลปึก 6. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3
7. แท่งแก้วคน 8. น้ำส้มสายชูกลั่นของ อสร 5%
9. กรดกำมะถันเข้มข้น 1 โมล/ลิตร หรือ 1 M (โมลาร์) 10. เจนเชียนไวโอเลต (ยาป้ายลิ้นเด็กสีม่วง)
11. พริกชี้ฟ้าเขียว 2 - 3 เม็ด 12. ตัวอย่างฉลากกำกับผลิตภัณฑ์สารปรุงรส
13. กระบอกตวงขนาด 50 cm3 และ 100 cm3 14. แก้วน้ำใส 2 ใบ
15. เนื้อดิบ 16. บีกเกอร์ขนาด 50 cm32 ใบ
17. กระดาษแข็งสำหรับปิดปากบีกเกอร์ 18. ถ้วยหรือภาชนะ (สำหรับใช้ล้างชิ้นเนื้อ)

           1.ชิ้นเนื้อดิบขนาด 4.0 เซนติเมตร x 1.0 เซนติเมตร x 0.5 เซนติเมตร มา 2 ชิ้น สังเกตสีและความเหนียวของชิ้นเนื้อ บันทึกผล
           2. ใส่ชิ้นเนื้อลงในบีกเกอร์ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2 ใบ ใบละ 1 ชิ้น แล้วเติมน้ำลงไปบีกเกอร์ใบที่ 1 และเติมน้ำส้มสายชูเข้มข้น 2.5% ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2 ให้ท่วมชิ้นเนื้อ โดยให้สูงจากก้นบีกเกอร์เท่านั้น ปิดปากบีกเกอร์ด้วยกระดาษแข็งตั้งไว้ 15 นาที
           3. นำชิ้นเนื้อทั้ง 2 ชิ้น ออกมาล้างน้ำ แล้วสังเกตสีและ ความเหนียวของชิ้นเนื้อ เปรียบเทียบกัน บันทึกผล
           4. ใส่ชิ้นเนื้อทั้ง 2 ชิ้นกลับลงในบีกเกอร์ใบเดิม ตั้งไว้ต่อไป โดยสังเกตและความเหนียวของชิ้นเนื้อทั้งสอง เปรียบเทียบกันทุก 15 นาทีด้วยวิธีการเดิมจนครบ 45 นาที บันทึกผล

ตารางบันทึกผลการทดลอง

เวลา (นาที) การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
ชิ้นเนื้อดิบแช่ในน้ำส้มสายชู 2.5% ชิ้นเนื้อดิบแช่ในน้ำ
0 ก่อนการทดลอง ชิ้นเนื้อดิบมีสีแดง นิ่มเหนียว ดึงไม่ขาดจากัน ก่อนการทดลอง ชิ้นเนื้อดิบมีสีแดง นิ่ม เหนียว ดึงไม่ขาดจากัน
15 ชิ้นเนื้อแข็งขึ้น ลื่นมือ เหนียว ดึงไม่ขาด สีของชิ้นเนื้อซีดลงเล็กน้อย ชิ้นเนื้อมีสีแดงและเหนียวเท่าเดิมดึงไม่ขาด
30 ชิ้นเนื้อแข็งขึ้นกว่าเดิม ลื่นมือ เมื่อดึงรู้สึกว่าเนื้อแยกออกจากกันได้เล็กน้อย สีของเนื้อซัดมากขึ้น เป็นสีชมพูขาวๆ ชิ้นเนื้อมีสีแดงชมพู แข็ง และ เหนียวกว่าเดิม ดึงไม่ขาด
45 ชิ้นเนื้อนุ่มขึ้น ลื่นมือ เมื่อดึงจะขาดเป็นชิ้น สีของชิ้นเนื้อซีกเกือบขาว ชิ้นเนื้อมีสีซีดเล็กน้อยและยังเหนียวเกือบเท่าเดิม ดึงไม่ขาด


           สรุปได้ว่า น้ำไม่สามารถทำลายความเหนียวของชิ้นเนื้อ แต่น้ำส้มสายชูซึ่งมีสมบัติเป็นกรดสามารถทำลายความเหนียว ของชิ้นเนื้อได้ภายในเวลา 45 นาที


<< Go Back