<< Go Back

1. สรุปการทำงานที่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลม ขณะที่หายใจเข้าและออก
2. สรุปเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สที่บริเวณถุงลมของปอด
3. ทดลองและอธิบายการทำงานของหัวใจจำลอง
4. อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด
5. ทดลองและสรุปผลการวัดการเต้นของชีพจนก่อนและหลังการออกกำลังกาย
6. สรุปปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

1. ถุงพลาสติกใส

2. บีกเกอร์

3. น้ำปูนใส

4. หลอดกาแฟ 

5. ภาพการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงถม

ที่มาของภาพ : http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.aspx?id=1630290

6. ปั๊มน้ำแบบใช้มือบีบ

7. เม็ดพลาสติกสี

8. ถังน้ำ

9. น้ำ

10. ภาพถ่ายหัวใจ

ที่มาของภาพ : http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.aspx?id=1630835

11. แผนภาพระบบหมุนเวียนเลือด

ที่มาของภาพ : http://www.thoengwit.ac.th/

12. นาฬิกาจับเวลาหรือนาฬิกาข้อมือที่บอกวินาทีหรือมีเข็มวินาที

การทดลองที่ 1 ระบบหายใจ

1. นำถุงพลาสติกใสขนาดเท่ากันมา 2 ใบใช้ถุงพลาสติกใบที่ 1 จับอากาศแล้วรัดปากถุงให้แน่น และเป่าลมหายใจจากปากลงในถุงพลาสติกใบที่ 2 ให้มีปริมาณเท่กันถุงใบที่ 1 รัดปากถุงให้แน่น
2. รินน้ำปูนใสลงในบีกเกอร์ขนาดเท่ากัน 2 ใบ ใบละ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. เสียบหลอดดูดลงไปในถุงพลาสติกทั้ง 2 ใบ แล้วบีบอากาศจากถุงแต่ละใบลงน้ำปูนใสในบีกเกอร์ใบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ พร้อมกับเขย่าให้เข้ากัน สักเกตและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบบันทึกผล

ตารางบันทึกผล

กิจกรรม ผลการสังเกต
บีบอากาศจากถุงใบที่ 1 ลงในน้ำปูนใส เมื่อบีบอากาศจากถุงที่ใช้จับอากาศลงในน้ำปูนใส่ แล้วคนให้เข้ากันจะสังเกตเห็นน้ำปูนใสขุ่นเล็กน้อย
บีบอากาศจากถุงใบที่ 2 ลงในน้ำปูนใส บีบอากาศจากถุงที่เป่าลมหายใจจากปากลงในน้ำปูนใสขุ่นมากกว่าในบีกเกอร์ใบแรก

การทดลองที่ 2 ระบบหมุนเวียนเลือด

1. ใส่น้ำและเม็ดพลาสติกสีลงในแบบจำลองหัวใจ
2. บีบหัวปั๊มพร้อมกับสังเกตการณ์ไหลเวียนของเม็ดพลาสติกสีในสายยางบันทึกผล
3. คลายมือออกพร้อมกับสังเกตการณ์ไหลเวียนของน้ำและเม็ดพลาสติกสีบันทึกผล

ตารางบันทึกผล

กิจกรรม การเต้นของชีพจน (ครั้ง / 30 วินาที)
ก่อนออกกำลังกาย ตามที่นับได้จริง (ประมาณ 35-40 ครั้ง)
หลังออกกำลังกาย ตามทีนับได้จริง (ประมาณ 60 ครั้ง)

การหายใจเข้าและออกแต่ละครั้งเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงขณะที่หายใจเข้ากล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวเคลื่อนที่ต่ำลง กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงยกตัวสูงขึ้นช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น อากาศภายนอกเข้าสู่ปอดจึงทำให้ท้องป่อง ขณะที่หายใจออกกล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวโค้งขึ้น กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงลดต่ำลง ปริมาตรในช่องอกลดลง อากาศจะออกจากปอดสู่สภาพแวดล้อม จึงทำให้ท้องแฟบ

อวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด คือ หัวใจและหลอดเลือด ระบบหมุนเวียนเลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่ถูกย่อยแล้ว แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และสารอื่นๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้หรือกำจัดออก ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์เป็นแบบวงจรปิด



<< Go Back