<< Go Back

ระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์ประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ เลือด เส้นเลือด และหัวใจ

ที่มารูปภาพ : http://www.pw.ac.th/bodysystem/cir/page/p1.html

1. หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบหมุนเวียนเลือด ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ลักษณะของหัวใจคนเราจะคล้ายดอกบัวตูมกลับหัว และมีขนาดเท่ากับกำปั้นของตนเอง หัวใจประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เราไม่สามารถควบคุมได้

2. หลอดเลือด เป็นทางลำเลียงน้ำเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- หลอดเลือดแดง เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดี มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยหลอดเลือดแดงที่ติดอยู่กับหัวใจ เป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่สุดและจะเล็กลงไปเรื่อยๆ
- หลอดเลือดดำ เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดเสีย มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ จากส่วนต่างๆของร่างกายไปสู่ปอด เพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ออกไป และนำแก๊สออกซิเจนเข้ามาสู่กระแสเลือด

ที่มารูปภาพ : http://www.thoengwit.ac.th/freeweb/19846/e5.php

3. เลือด ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สและสารอาหารต่างๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย คนที่โตเต็มวัยจะมีปริมาณเลือดประมาณ 5,000 – 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เลือดประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. ส่วนที่เป็นของเหลวหรือน้ำเลือด มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากที่สุด และมีสารอาหาร เอนไซม์และแก๊สอื่นๆ
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง คือเซลล์เม็ดเลือดดำ เซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมี ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลำเลียงออกซีเจน

1. การทำงานของหัวใจ
ร่างกายคนเรามีอวัยวะที่เรียกว่า หัวใจ ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ตั้งอยู่บริเวณทรวงอกค่อนมาทางซ้าย ภายในมี 4 ห้องและมีลิ้นคอยปิด-เปิด เพื่อมิให้เลือดไหลย้อนกลับ โดยหัวใจทำหน้าที่เหมือนเครื่องสูบฉีด ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลออกจากหลอดเลือดแดง และไปตามหลอดเลือดฝอย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปทุกส่วนของร่างกาย  เพื่อนำเอาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งรับเอาของ เสียจากเซลล์เหล่านั้น และไหลกลับมาทางหลอดเลือดดำ เข้าสู่หัวใจเพื่อสูบฉีดไปฟอกที่ปอดให้กลับกลายเป็นเลือดดีและไหลกลับสู่หัว ใจอีก เพื่อสูบฉีดเลือดดีนี้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆต่อไป

เราอาจสรุปขั้นตอนของระบบหมุนเวียนเลือด ได้ดังนี้
1. เลือดไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางหลอดเลือดดำใหญ่ แล้วไหลผ่านลงสู่ห้องหัวใจขวาล่าง และถูกสูบฉีดไปยังปอด
2. เลือดซึ่งได้รับการฟอกจนมีออกซิเจนเต็มที่จากปอด จะกลับคืนสู่หัวใจทางห้องบนซ้าย แล้วไหลลงมาสู่ห้องหัวใจซ้ายล่างเพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
3. เมื่อเลือดไหลไปทั่วร่างกายแล้ว เลือดที่เสียก็จะไหลกลับเข้าห้องหัวใจขวาบน แล้วถูกหัวใจสูบฉีดไปยังปอดอีก เป็นวงจรเช่นนี้ตลอดไป

2. การทำงานของปอด
ปอดของคนเรามี 2 ข้าง อยู่ภายในช่องอก เชื่อมต่อกับภายนอกโดยท่อลม ซึ่งเปิดภายในลำคอ โดยปอดมีลักษณะคล้ายฟองน้ำอ่อนนุ่ม เนื่องจากปอดประกอบด้วยกลุ่มของท่อและถุงลมเล็กๆ จำนวนมากมาย  ซึ่งเลือดจะไหลผ่านปอดและหมุนเวียนตลอดเวลาเพื่อรับออกซิเจนที่ปอด ท่อขนาด ใหญ่ในปอดจะแตกแขนงต่อไปอีกหลายครั้ง และแต่ละครั้งท่อจะมีขนาดแคบลงทุกที จนในที่สุดแขนงหลอดลมย่อยชั้นสุดท้ายจะเป็นท่อขนาดไม่กว้างไปกว่าเส้นผม ซึ่งที่ปลายของท่อที่แคบเล็กชั้นสุดท้ายนี้จะเป็นกระจุกถุงลมขนาดเล็กจิ๋ว ลักษณะคล้ายพวงองุ่น ถุงลมเหล่านี้เองที่เป็นที่รับออกซิเจนของเลือด ขนาดในปอดของหนูยังมีถุงลมอยู่มากกว่า 300 ล้านถุง เลือดเสียซึ่งมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง จะถูกลำเลียงไปยังปอด และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความเข้มข้นสูงนี้จะแพร่เข้าสู่ถุงลมในปอด และถูกลำเลียงผ่านหลอดลม ออกสู่ภายนอกทางลมหายใจออก ในขณะที่ออกซิเจนจากลมหายใจเข้า ก็จะแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดเสียถูกฟอกกลับกลายเป็นเลือดดีนั่นเอง

หน้าที่ของระบบไหลเวียนเลือด อาจแบ่งได้เป็นข้อๆ ดังนี้ คือ
1. ให้อาหาร นำอาหารและสารอื่นๆ ไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
2. หายใจ นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนกลับมาใช้
3. ขับถ่าย นำของเสียซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึม เพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
4. การคงปริมาณสารน้ำของร่างกาย ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
5. การควบคุมอุณหภูมิ รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
6. ปรับระดับและป้องกัน เลือดที่ไหลเวียนช่วยนำสารบางอย่าง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายไปยังอวัยวะ ต่างๆ และนำสารบางอย่างที่เป็นตัวช่วยป้องกันร่างกายไปยังที่ได้รับอันตรายด้วย

1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันหรือคอเลสเตอร์รอลสูง
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น และแข็งแรง
3. พักผ่อนให้เพียงพอกับวัยสภาพร่างกาย
4. ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
5. หมั่นตรวจสอบสุขภาพตนเอง โดยไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทุกปี

 

http://www.thoengwit.ac.th/freeweb/19846/e5.php
http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=827
https://warisar.wordpress.com/2011/06/12/ระบบหมุนเวียนเลือด-วิท/

<< Go Back