<< Go Back

กระบังลม (Diaphragm) เป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ซี่โครง แบ่งเป็นกล้ามเนื้อสองชิ้น เรียกว่ากระบังลมด้านซ้ายและกระบังลมด้านขวา โดยที่กระบังลมจะเป็นตัวกั้นระหว่างช่องอกและช่องท้องในร่างกายของคนเรา โดยที่ช่องอกจะเป็นที่ตั้งของหัวใจ ปอดและซี่โครง ส่วนช่องท้องจะเป็นที่ตั้งของอวัยวะที่สำคัญจำนวนมาก เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ม้าม ไต และลำไส้ เป็นต้น

กระบังลมทำหน้าที่สำคัญในระบบการหายใจ กล่าวคือ กระบังลมจะทำทำหน้าที่คล้ายลูกสูบ ช่วยในการรั้งปอดลงเพื่อให้อากาศเข้าไปในปอดเวลาหายใจเข้า และดันปอดขึ้นเพื่อบีบไล่อากาศออกจากปอดเมื่อเวลาหายใจออก ซึ่งในระหว่างการหายใจเข้าออกนี้ กระบังลมจะทำหน้าที่ป้องกันการขยายตัวของปอดและซี่โครง ไม่ให้พองตัวจนไปดันอวัยวะในช่องท้องไปในตัวด้วย

การหายใจเข้าและการหายใจออกซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม อยู่ในการบังคับ ของระบบประสาทอัตโนมัติ แต่บางครั้งกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงกับกล้ามเนื้อกะบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กัน โดยกะบังลมหดตัวในช่วงหายใจออก ทำให้เกิดการสะอึก
ดังนั้นการหายใจเข้าจึงเป็นการทำให้ปริมาตรทรวงอกเพิ่มขึ้นได้มี 2 วิธี คือ
1. การหดตัวของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอก ( External intercostals muscle )
2. การหดตัวของกะบังลม ( Diaphragm )

การหายใจเข้าและการหายใจออก
http://iyayaya.exteen.com/page-4

- การที่กะบังลมเลื่อนต่ำลงมา จะไปดันอวัยวะภายในพร้อมกับกล้ามเนื้อหน้าท้องคลายตัว จึงทำให้ท้องป่อง เรียกว่า การหายใจส่วนท้อง ( Abdominal breathing )
- การที่กระดูกซี่โครงเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกับกางออกในตอนหายใจเข้า เรียกว่า การหายใจส่วนอก ( Costal breathing )

www.เกร็ดความรู้.net/กระบังลมทำหน้าที่อะไร/
http://iyayaya.exteen.com/page-4

<< Go Back