<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการสังเกตกาแล็กซีแอนโดรเมดา จากท้องฟ้าจริงด้วยตาเปล่า และด้วยกล้องสองตา

1. แผนที่ดาว จำนวน 1 แผ่น/กลุ่ม
2. ท้องฟ้าจำลองครึ่งทรงกลม จำนวน 1 อัน
3. กล้องสองตา จำนวน 1 อัน
4. ปากกาเคมี จำนวน 1 ด้าม

แผนที่ดาว ท้องฟ้าจำลองครึ่งทรงกลม
กล้องสองตา ปากกาเคมี

การทดลองตอนที่ 1

1. ให้นักเรียนร่วมกันค้นหากาแล็กซีแอนโดรเมดา (M31) จากแผนที่ดาว โดยให้หากลุ่มดาวม้าบินและกลุ่มดาวค้างคาว ให้พบก่อนสัญลักษณ์ของกาแล็กซีในแผนที่ดาว จากนั้นเลือกวัน เดือนและเวลาที่ต้องการ
2. ใช้ปากกาเคมีบันทึกตำแหน่งของกาแล็กซีแอนโดรเมดาบนท้องฟ้าจำลองครึ่งทรงกลมให้ตรงกับตำแหน่งบนแผนที่ดาว
3. ปฏิบัติซ้ำข้อ 1-2 แต่เปลี่ยนวัน เดือน และเวลาที่สังเกต

การทดลองตอนที่ 2

1. ให้นักเรียนสังเกตท้องฟ้าที่บ้าน วาดภาพกาแล็กซีแอนโดรเมดาที่สังเกตเห็น พร้อมทั้งระบุชื่อผู้สังเกต วัน เวลา ที่สังเกต วัน เวลา ที่สังเกต มุมเงยและทิศ
2. ให้นักเรียนนำผลงานการสังเกตกาแล็กซีแอนโดรเมดามานำเสนอพร้อมกันในชั้นเรียน และร่วมอภิปรายในชั้นเรียน

กาแล็กซีที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าทางท้องฟ้าซีกใต้ คือ กาแล็กซีที่เป็นบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก ได้แก่ กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 163,000 ปีแสง และ 196,000 ปีแสง ตามลำดับ

      จากการศึกษาการจำแนกประเภทกาแล็กซี โดยกำหนดให้รูปร่างของกาแล็กซีเป็นเกณฑ์ สามารถจำแนกกาแล็กซีออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. กาแล็กซีรูปกังหันหรือสไปรัล
2. กาแล็กซีกังหันมีแกน หรือบาร์สไปรัล
3. กาแล็กซีรูปไข่
4. กาแล็กซีไร้รูปทรง

 

<< Go Back