<< Go Back

                   เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการใช้ตัวรับรู้อุณหภูมิที่ให้ผลออกมาในรูปความต้านทานไฟฟ้า

1. เทอร์มิสเตอร์ (แบบ NTC)

2. ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้

3.โอห์มมิเตอร์

4. มิลลิแอมมิเตอร์

5. สวิตซ์

 

6. เซลล์ไฟฟ้า 1.5 V 4 ก้อน  พร้อมกระบะ

7. สายไฟ

 

                   1. ใช้โอห์มมิเตอร์ วัดค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์ ดังรูป

                   2. ต่อวงจร ดังรูป

                   3. ปรับค่าความต้านทานของ VR (Variable resistor) ขณะที่ร้อนและเย็นจนเข็มของมิลลิแอมมิเตอร์อ่านได้ชัดเจน หลังจากการปรับ VR แล้วไม่ต้องปรับอีก

                   ผลการทดลองที่ได้  ดังตารางนี้

อุณหภูมิ(องศาเซลเซียส) กระแสไฟฟ้า (มิลลิแอมแปร์) ความต้านทาน (โอห์ม)
30 7 836
40 10 577
50 13 394
60 17 273
70 22 193
80 26 138
90 30 103
100 34 72

                   นำผลการทดลองที่ได้มาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานและอุณหภูมิของเทอร์มิสเตอร์แบบ NTC  จะได้

           สรุปได้ว่า

                   ความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์แบบ NTC มีค่าไม่คงตัว โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูง เทอร์มิสเตอร์จะมีความต้านทานน้อย และถ้าอุณหภูมิต่ำ เทอร์มิสเตอร์จะมีความต้านทานมาก เมื่อต่อเทอร์มิสเตอร์เข้ากับวงจรไฟฟ้า กระแสที่วัดได้จะมีค่ามากเมื่อเทอร์มิสเตอร์มีอุณหภูมิมีอุณหภูมิสูง และกระแสที่วัดได้จะมีค่าน้อยเมื่อเทอร์มิสเตอร์มีอุณหภูมิต่ำ แต่ถ้าวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายของเทอร์มิสเตอร์ที่อุณหภูมิต่างกัน จะได้ว่า เมื่อเทอร์มิสเตอร์มีอุณหภูมิสูง ความต่างศักย์จะมีค่าน้อย และถ้าเทอร์มิสเตอร์มีอุณหภูมิต่ำ ความต่างศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามาก


<< Go Back