<< Go Back

เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลหมาย ถึงมีการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนในลวดสายไฟและ อิเล็กตรอนจะวิ่งชนกับอะตอมของ เส้นลวด เกิดการต้านทานการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น เราเรียกว่า ความต้านทาน (Resistance) ความต้านทานมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm ใช้สัญลักษณ์ W ) ความต้านทานเกิดขึ้นทุก ๆ ที่ที่มีกระแสไฟฟ้าไหล ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสายไฟเท่านั้น ตัวอย่าง ความ ต้านทานต่าง ๆ มีดังนี้
1. ความต้านทานของตัวนำ ได้แก่ความต้านทานของลวดสายไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
2. ความต้านทานของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้แก่ความต้านทานของสารละลายของกรดเกลือกรดกำมะถัน น้ำเกลือ เป็นต้น
3. ความต้านทานของจุดสัมผัส ได้แก่ ความต้านทานที่เกิดขึ้นที่จุดสัมผัสของสวิตซ์หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างสายไฟ ที่จุดสัมผัสนี้กระแสจะไหลได้ยาก เพราะมีความต้านทานสูงความต้านทานของจุดสัมผัสนี้ จะเป็นปัญหามากเมื่อให้กระแสไหลผ่าน เป็นจำนวนมากค่าความต้านทานนี้จะลดลง โดยการขัดผิวที่จุดสัมผัสให้เรียนหรือเพิ่มแรงกดที่จุดสัมผัส หรือบัดกรีเชื่อมต่อ ระหว่างสายไฟเสีย

4. ความต้านทานของสายดิน ได้แก่ ความต้านทานที่เกิดขึ้นระหว่างดินและแผ่นโลหะผังลงดิน

5. ความต้านทานของฉนวน เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้ารั่วจากสายไฟจะใช้ไวนิลหรือยางซึ่งเป็นวัสดุที่มีค่าความ ต้านทานจำเพาะ สูงหุ้มสายไฟนั้นไว้ เราเรียกการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วนี้ว่า การฉนวน และวัสดุที่ใช้ในการฉนวนนี้ว่า ฉนวน แต่การฉนวนนั้นมิได้หมายความว่ากระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านไม่ได้เลย

เครื่องมือที่ใช้วัดความต้านทานเรียกว่า เทสมิเตอร์ (หรือมัลติมิเตอร์) เครื่องวัดนี้ สวิตซ์ที่สามารถสลับเพื่อวัดกระแส แรงดัน และความต้านทานได้เมื่อจะวัดค่าความต้านทานต้องสลับสวิตซ์มาที่จะใช้วัดความต้านทานเสียก่อน แล้วจึงนำปลายทั้งสอง ข้างของมิเตอร์มาแตะกัน ดังรูป ก แล้วปรับให้เข็มของมิเตอร์ชี้ที่เลข 0 โอห์ม จากนั้นจึงนำปลายทั้งสองข้างของมิเตอร์ไปต่อกับ ตัวต้านทาน แล้วอ่านค่าโอห์มจากมิเตอร์ก็จะทราบค่าความต้านทาน ดังรูป ข

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355203/resistance1.htm

<< Go Back