<< Go Back

           เพื่อให้นักเรียนสามารถบทบาทของแผ่นทองแดงที่มีต่อปฏิกิริยาเคมีระหว่างสังกะสีกับกรดไฮโดรคลอริก

1. หลอดทดลองขนาดกลาง 3 หลอด
 2. กระบอกตวง หรือ หลอดฉีดยาขนาด 10 cm3 1 ใบ
3. สารละลายกรดไฮโดรคลอริกมีความเข้มข้น 1 mol/ dm3 15 cm3
4. แผ่นทองแดง ขนาด 0.5 x 2 cm2 1 แผ่น
5. แผ่นทองแดง ขนาด 0.25 x 4 cm2 1 แผ่น
6. แผ่นสังกะสี ขนาด 0.5 x 2 cm2 1 แผ่น

             1. ใส่กรดไฮโดรคลริก ความเข้มข้น 1 mol/ dm3 ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 3 หลอด หลอดละ 5 cm2
             2. ใส่แผ่นทองแดงขนาด 0.5 x 2cm2 จำนวน 1 แผ่น ลงในหลอดทดลองที่ 1
             3. ใส่แผ่นสังกะสีขนาด 0.5 x 2 cm2 จำนวน 1 แผ่น ลงในหลอดทดลองที่ 2
             4. ใส่แผ่นสังกะสีขนาด 0.5 x 2 cm2 ที่มีแผ่นทองแดงขนาด 0.25 x 4 cm2 พันอยู่โดยรอบลงในหลอดทดลองที่ 3
             5. สังเกตและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้ง 3 ประมาณ 5 นาที แล้วบันทึกผล
             6. นำเสนอและสรุปผลการทดลอง

            จากการทดลอง ผลของการเกิดปฏิกิริยาของสารเคมีได้ดังนี้

รายการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.  กรดไฮโดรคลอริก + แผ่นทองแดง
2.  กรดไฮโดรคลอริก + แผ่นสังกะสี 
3.  กรดไฮโดรคลอริก + แผ่นสังกะสีพันด้วยทองแดง 
-  มีฟองแก๊สเกิดขึ้นที่ชิ้นของสังกะสี
-  ไม่มีฟองแก๊สเกิดขึ้น
-  มีฟองแก๊สเกิดขึ้นที่ชิ้นของทองแดงด้วยปริมาณที่มากกว่าหลอดที่  1

            และสามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้ แผ่นสังกะสีทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเกิดแก๊สไฮโดรเจน ส่วนแผ่นทองแดงไม่ให้ฟองแก๊ส แสดงว่าแผ่นทองแดงไม่เกิดปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก ส่วนแผ่นสังกะสีที่มีแผ่นทองแดงพัน อยู่ให้ฟองแก๊สเกิดขึ้นอย่างเร็วและมีปริมาณมากกว่าเมื่อมีแต่แผ่นสังกะสีเพียงชนิดเดียว และเมื่อปฏิกิริยาเกิดได้ 5-10 นาที พบว่าแผ่นสังกะสีมีการสึกกร่อน แต่แผ่นทองแดงไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่า ทองแดงทำหน้าที่ช่วยเร่งให้สังกะสีเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้นเท่านั้น โดยแผ่นทองแดงเองไม่ได้เข้าทำปฏิกิริยาด้วย เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ทองแดงทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเท่านั้นเพราะแผ่นทองแดงยังคงมีสภาพและปริมาณเท่าเดิม



 

<< Go Back