<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทยทางอินเทอร์เน็ต
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งพืชและสัตว์ที่เข้ามาในประเทศไทย
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถทราบสาเหตุการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นนั้น ๆ
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายผลดีและผลเสียจากการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
5. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

1. ให้นักเรียนสำรวจชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งพืชและสัตว์ที่เข้ามาในประเทศไทย จากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต หรือจากการออกไปสำรวจตามร้านขายพันธุ์พืชและสัตว์
2. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลและจำแนกชนิดพันธุ์ที่สำรวจได้ ชนิดใดที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน และชนิดใดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
3. นำข้อมูลมาอภิปรายร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้
3.1 ผลดีและผลเสียจากการนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาในประเทศไทย
3.2 ผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
3.3 แนวทางในการป้องกันและแก้ไขจากการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

ผลการทดลองที่ได้ ดังนี้

ชื่อ ที่มา จุดประสงค์การนำเข้า ผลกระทบที่เกิดขึ้น
  อีกัวน่า   ทวีปอเมริการใต้
  ทวีปอเมริการกลาง
  เป็นสัตว์เลี้ยงดูเล่น  ถ้ามากเกินไป อาจคุกคามสัตว์ท้องถิ่นได้
  ปลาดุกรัสเซีย   ทวีปแอฟริกา   เป็นสัตว์เลี้ยงดูเล่น  ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำไทย    เพราะมีนิสัยดุร้าย  เป็นสัตว์กินเนื้อ
  หอยเชอรี่   ทวีปอเมริกาใต้   เพื่อประดับตู้ปลา  กัดกินต้นข้าวอ่อน ทำให้นาข้าวเสียหาย
  ไมยราบยักษ์   ทวีปอเมริกาใต้   เพื่อใช้เป็นปุ๋ยสด  สร้างปัญหาแก่ชลประทาน
  หญ้าขจรกบ   อินเดีย   เป็นอาหารสัตว์  วัชพืชแย่งอาหาร ทำให้พืชชนิดอื่นไม่เจริญเติบโต
  ผกากรอง   เม็กซิโก   ไม้ประดับ  วัชพืชแย่งอาหาร ทำให้พืชชนิดอื่นไม่เจริญเติบโต
  ผักตบชวา   อินโดนีเซีย   เป็นไม้ประดับในสระน้ำ  แหล่งน้ำตื้นเขินขึ้น อุปสรรคต่อการจราจรทางน้ำ สร้างปัญหาต่อการชลประทาน

สรุปได้ว่า
แนวทางที่อาจช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคือ การพิจารณาถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น วัชพืชบางชนิดนำมาเป็นผักสด หรือ ประกอบอาหารรับประทานเช่น ใบอ่อนของผักตบชวา หญ้าขจรจบนำมาทำกระดาษ ผักตบชวานำมาทำของใช้ในบ้าน เช่น ตะกร้า ภาชนะต่างๆ หรือใช้ทำอาหารสัตว์ เป็นต้น



<< Go Back