<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถ เลือกปัญหาและค้นคว้าข้อมูลจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านประโยชน์  และในด้านที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและคนในท้องถิ่น
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถ เสนอแนวความคิดในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น  ตลอดถึงการรักษา และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกพิจารณาปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของนักเรียน
2. ศึกษารายละเอียดของปัญหา คิดหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สามารถทำได้ภายใน 1 ภาคเรียน ประเด็นที่ต้องร่วมกันวางแผนมีดังนี้
2.1 สาเหตุของปัญหา
2.2 แนวทางและวิธีการที่จะแก้ปัญหา โดยแสดงหลักการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.3 ออกแบบการศึกษาทดลอง โดยกำหนดและควบคุมตัวแปร อุปกรณ์ วัสดุ สารเคมี
2.4 เวลาสถานที่ที่จะปฏิบัติ
2.5 เสนอแนวความคิดในการแก้ปัญหา
2.6 เขียนแผนหรือเค้าโครงของการดำเนินงาน
2.7 ลงมือปฏิบัติตามแผน บันทึกรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการแก้ปัญหา
2.8 ประเมินผลการดำเนินงานแก้ปัญหา

3. สมมติตัวเองเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบด้านต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเจ้าของกิจการ กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มประชาชนในท้องถิ่น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กลุ่มนักการเมือง
4. อภิปรายร่วมกันถึงปัญหาดังกล่าว ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละกลุ่ม โดยพิจารณากระบวนการของกิจกรรมนั้นๆ ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ และด้านปัญหาต่อสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น
5. เสนอแนวความคิดในการที่จะดำเนินกิจการต่างๆ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสภาวะแวดล้อม และไม่เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนถึงการรักษาและปรับปรุงคุณภาพ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
6. ให้นักเรียนบอกกิจกรรมที่คนในชุมชนในท้องถิ่นของนักเรียน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจเป็นกิจกรรม หรือประเพณีต่างๆ ตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยอภิปรายกิจกรรมในชั้นเรียน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกมีสาเหตุดังนี้
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ
3. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ประชากรขาดความรู้และมีความเชื่อที่ผิด
5. ขาดการประชาสัมพันธ์
6. สงคราม
7. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพิ่มขึ้น

  การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชนของนักเรียน มีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญตามความเหมาะสม และความสอดคล้องกับท้องถิ่นซึ่งอาจจะตามแนวทางดังนี้
1. ให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแก่คนในชุมชน ทั้งนอกโรงเรียนและในโรงเรียน นอกโรงเรียน เช่น ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ในโรงเรียน ก็อาจจะบรรจุอยู่ในหลักสูตรสถานศึกษา หรือสอดแทรกได้ในทุกวิชา
2. สร้างจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม คือ ปลูกฝังอบรมให้บุคคลมีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมเห็นความสำคัญ และประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้หากสภาพสิ่งแวดล้อมสูญเสียหรือเสื่อมโทรม
3. มีกฎหมายสิ่งแวดล้อม เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติได้แก่
1. จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ประชาชนขาดความรู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกวิธี
5. นโยบายของรัฐไม่เข้มงวด เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น
1. การกักเก็บ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนไว้ใช้ในอนาคต
2. การรักษา ซ่อมแซม ทรัพยากรที่ถูกทำลายให้เป็นปกติ
3. การฟื้นฟู ทรัพยากรที่เสื่อมโทรมให้สามารถกลับมาใช้อีกได้
4. การป้องกันทรัพยากรที่ถูกทำลายหรือมีแนวโน้มจะถูกทำลายให้ปกติ

การพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1. การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ควบคุมการเจริญเติบโตของประชากรให้เหมาะสมกับปริมาณ ทรัพยากรธรรมชาติ
4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกวิธี
5. เพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศและหลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่อาศัยเทคโนโลยีมาช่วย เช่น
1. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากเซลล์สุริยะ (solar cell) ในการนำพลังงานแสง มาใช้แทนการใช้แสงสว่างในบ้านเรือน แทนพลังงานความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงในการหุงต้ม ต่าง ๆ
2. การใช้กังหันชัยพัฒนา ในการบำบัดน้ำเสียเป็นการฟื้นฟูแหล่งน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น

สรุปได้ว่า
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกัน นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนา ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรทีมีอยู่ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยปกติแล้วทรัพยากรแต่ละประเภทมีศักยภาพต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพดีที่สุด ซึ่งอาจจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคุมกับกระบวนการพัฒนาด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาด้วยเช่นกัน


<< Go Back