<< Go Back

               1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และจำแนกชนิดของจุลินทรีย์ได้
               2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการได้

               1. ฟางข้าว จอก แหน ผักตบชวา หรือหญ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณ 1 กำมือ
               
               2. บิ๊กเกอร์ขนาด 500 cm3
               
               3. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ พร้อมขาตั้ง และที่กั้นลม
               
               4. แท่งแก้วคนสาร
               
               5. น้ำสะอาด 250 cm3
               
               6. น้ำจากคู บึง บ่อ หรือ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ 100 cm3
               
               7. ผ้าขาวบางพร้อมยางวง
               
                8. กล้องจุลทรรศน์
               
                9. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
               
                10. หลอดหยด
               

               1. นำวัสดุ เช่น ฟางข้าวแห้ง จอก ผักตบชวา หรือหญ้า อย่างใดอย่างหนึ่งมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปในบิ๊กเกอร์ประมาณ 1 ใน 5 ส่วน
               2. เติมน้ำสะอาดลงไปในบิ๊กเกอร์ที่มีวัสดุในข้อ 1 ให้น้ำท่วมวัสดุนั้น
               3. นำบิ๊กเกอร์ไปต้มบนชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จนน้ำเดือดประมาณ 15 นาที แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
               4. ใช้หลอดหยดดูดน้ำต้มจากข้อ 3 หยดบนสไลด์แล้วปิดด้วยกระจกสไลด์ นำมาส่องดูสิ่งมีชีวิต ด้วยกล้องจุลทรรศน์ บันทึกผล จากนั้นนำบิ๊กเกอร์ในข้อ 3 ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน
               5. เติมน้ำจากคู บึง หรือบ่อ ปริมาตร 100 cm3 ลงในบิ๊กเกอร์ แล้วปิดด้วย ผ้าขาวบาง
               6. นำน้ำจากบิ๊กเกอร์ในข้อ 5 มาส่องดูสิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ทุกวันจนครบ 1 สัปดาห์ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้น บันทึกผล
                   - จากการทดลองนี้นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่เกิดขึ้นอย่างไร
                   - กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่พบมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ หรือไม่อย่างไร
                   - เพราะเหตุใดจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่เกิดขึ้นจากการทดลองนี้

               วันเริ่มต้น นำน้ำต้มฟางที่ทิ้งไว้ให้เย็นมาส่องดู จะไม่พบสิ่งมีชีวิตใด ๆ อยู่เลย
วันที่ 1-2 เมื่อนำน้ำจากแหล่งต่าง ๆ เติมลงไปในน้ำต้มฟาง แล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 1-2 วัน เมื่อนำมาส่องดูจะพบอะมีบาเกิดขึ้นดังรูป

วันที่ 3-4 พบอะมีบาและมีพวกไดอะตอมเกิดขึ้น

วันที่ 5 อะมีบาหายไป ยังพบไดอะตอม และพบสิ่งมีชีวิตกลุ่ม ciliate แทนที่ เช่น

วันที่ 6 พบพวก ciliate บางชนิดเกิดขึ้น เช่น

วันที่ 7 พบ ciliate ชนิด Vorticella campanule และพารามีเซียมจำนวนมากขึ้นมาแทนที่

            มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยในระยะแรกจะมีพวกอะมีบาจำนวนมากหลังจากนั้นจะเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่ม ciliate พวกแรกขึ้นมาซึ่งกินอะมีบาเป็นอาหาร เมื่ออะมีบาหมดก็มีกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ เช่น โรติเฟอร์ (rotifer) ขึ้นมากิน ciliate กลุ่มนั้นแทนที่ไปเรื่อย ๆ ซึ่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ไม่เหมือนกัน

สรุปได้ว่า การเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การขยายพันธุ์และการทนต่อสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน  ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในห้องปฏิบัติการนั่นเอง


<< Go Back