<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเตรียมเนื้อเยื่อรากตัดตามขวางเพื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจตรวจสอบปลายรากที่เจริญเต็มที่โดยตัดตามขวาง
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น อภิปราย และอธิบายลักษณะเนื้อเยื่อรากแต่ละบริเวณจากด้านนอกเข้าไปสู่ด้านในของรากได้ตามลำดับ
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างรากที่ตัดตามขวางของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

   
1. เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดต่างๆ เช่น ถั่ว และเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าว หรือ พุทธรักษา

2. ใบมีดโกน

3. สีซาฟรานีน หรือสีผสมอาหารสีแดง ความเข้มข้น 1%
           
4. พู่กัน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ และหลอดหยด

5. สไลด์ และกระจกปิดสไลด์

6. กล้องจุลทรรศน์

1. นำเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่ และเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมาเพาะในกระบะเพาะชำไว้นานประมาณ 2 สัปดาห์
2. ขุดต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขึ้นมาจากกระบะเพาะไม่ให้รากขาด ตัดรากพืชที่สมบูรณ์มาแช่น้ำประมาณอย่างละ 2-3 ราก
3. ใช้ใบมีดโกนที่คมตัดแบ่งรากบริเวณค่อนไปทางปลายรากให้เป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 3 cm นำไปตัดตามขวางให้ได้แผ่นบาง โดยจับท่อนรากด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้หน้าตัดที่ต้องการตัดอยู่ในแนวระนาบและสูงกว่านิ้วมือเล็กน้อย จับใบมีดโกนที่จุ่มน้ำให้เปียกด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งให้คมมีดอยู่ในแนวระนาบเสมอ จรดใบมีดกับหน้าตัดท่อราก ดึงใบมีดเข้าหาตัว พยายามดึกใบมีดด้วยนิ้วทั้งสองเข้าหาตัวครั้งเดียวเพื่อให้ได้ส่วนของพืชเป็นแผ่นบาง 1 แผ่น ตัดให้ได้หลายๆ แผ่น ห้ามดึงใบมีดหลายๆ ครั้งแบบเลื่อยไม้ ใช้พู่กันแตะชิ้นส่วนของรากที่เฉือนออกมาแล้วแช่ในน้ำสีที่ใส่ในจานเพาะเชื้อ หรือภาชนะอื่นแยกเป็นจานละชนิด
4. ใช้พู่กันเลือกชิ้นส่วนที่บางและสมบูรณ์ซึ่งย้อมสีแล้วจากจำนวน 3-4 แผ่น วางลงบนหยดน้ำบนสไลด์ ระวังอย่างให้มีฟองอากาศอยู่ภายใน เช็ดน้ำที่ล้นตรงขอบกระจกปิดสไลด์ อย่าให้ด้านบนกระจกปิดสไลด์เปียกน้ำ
5. นำสไลด์ไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เริ่มจากกำลังขยายต่ำก่อนเพื่อเลือกศึกษาชิ้นเนื้อเยื่อที่บางและสมบูรณ์ที่สุด แล้วจึงเปลี่ยนเป็นกำลังขยายสูงขึ้นเพื่อศึกษารายละเอียดของโครงสร้างภายในของรากให้ได้มากขึ้น

 

ผลการทดลองที่ได้ ส่วนที่แตกต่างกันดังตารางข้างล่างนี้

รากพืชใบเลี้ยงคู่

รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

  1. ท่อลำเลียงน้ำกลุ่มเซลล์จะเรียงเป็นแฉกมี 4-5 แฉก และมีกลุ่มเซลล์ท่อลำเลียงอาหารแทรกอยู่ระหว่างแฉก 4-5 กลุ่ม
  2. มีวาสคิวลาร์แคมเบียม
  3. ชั้นแอนโดเดอร์มิสเห็นไม่ชัดเจน
  4. ตรงกลางรากมักเป็นไซเลม

 

  1. ท่อลำเลียงน้ำมีจำนวนแฉกมากกว่า คือมีประมาณ 6 แฉก เรียงเป็นวงกลมมีกลุ่มเซลล์ท่อเลียงอาหารแทรกอยู่ระหว่างแฉก มี 6 กลุ่ม
  2. ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียม
  3. ชั้นเอนโดเดอร์มิสเห็นชัดเจน
  4. ตรงกลางรากเป็นพิธ

สรุปการทดลองได้ว่า

ก. รากพืชใบเลี้ยงคู่ (ถั่วเขียว)
ข. รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ข้าวโพด)
ค. รากพืชใบเลี้ยงคู่ขยาย (ถั่วเขียว)
ง. รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขยาย (ข้าวโพด)

ภาพที่เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 3 บริเวณ คือ ชั้นเอพิเดอร์สอยู่นอกสุด ถัดเข้ามาเป็นชั้นคอร์เทกซ์ และชั้นในสุดคือชั้นสตีล

 

    << Go Back