<< Go Back

เนื้อเยื่อของรากทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ตัดตามขวาง ตรงบริเวณที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ จะพบว่าเนื้อเยื่อของรากแบ่งออกเป็นชั้นๆเรียงจากภายนอกเข้าไปตามลำดับดัง นี้
1. epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีเซลล์ที่เรียงตัวกันเพียงชั้นเดียวและผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก
2. cortex เป็นอาณาเขตระหว่างชั้น epidermis และ stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหารเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของ cortex จะเป็นเซลล์แถวเดียวเรียก endodermis ในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นชัดเจนเซลล์ในชั้นนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมี ผนังหนาเพราะมีสารซูเบอริน หรือลิกนินสะสมอยู่ แต่จะมีช่วงที่มีเซลล์ผนังบางแทรกอยู่ในชั้นนี้และอยู่ตรงกับแนวของไซเลม
3. stele เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้น endodermisเข้าไป พบว่าstele ในรากจะแคบกว่าชั้น cortex ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้
     3.1 pericycle เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2 แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น เป็นแหล่งกำเนิดของรากแขนง ( secondary root )
     3.2 vascular bundle ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉกโดยมี phloem อยู่ระหว่างแฉก สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium คั่นระหว่าง xylem กับ phloem ในรากของพืชใบเลี้ยงคู่มีจำนวนแฉกน้อยประมาณ 1-6 แฉก โดยมากมักมี 4 แฉก ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักมีจำนวนแฉกมากกว่า
      3.3 pith เป็นบริเวณตรงกลางรากหรือไส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาส่วนรากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงกลางมักเป็น xylem

สรุป

- ลำดับการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อของบริเวณเซลล์มีการเปลี่ยนแปลง เรียงจากนอกสุดเข้าในสุด ดังนี้

เอพิเดอร์มิส –> คอร์เทกซ์ –> สตีล –> พิธ

- องค์ประกอบของเนื้อเยื่อของราก

เนื้อเยื่อเจริญ (อังกฤษ: meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช
เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด
เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
1. เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) พบบริเวณปลายยอดไม้, ปลายราก และตาไม้ เมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอด ปลายรากยืดยาวออกไปหรือตาแตกกิ่งก้านใหม่ เนื้อเยื่อเจริญมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายประกอบด้วยชั้นหลายชั้น ซึ่งจำนวนของชั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช แต่โดยทั่วไปแล้วชั้นนอกสุดจะถูกเรียกว่าทูนิคา (tunica) และชั้นในสุดเรียกว่าคอร์ปัส (corpus) ทูนิคาจะเป็นตัวกำหนดลักษณะภายนอกของปากใบและริมใบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนคอร์ปัสจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของปากใบในพืชใบเลี้ยงคู่ คอร์ปัสและทูนิคาจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในลักษณะภายนอกของพืชเนื่องจากเซลล์ในพืชทั้งหมดถูกผลิตขึ้นมาจากเนื้อเยื่อเจริญ
2. เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) หรือเนื้อเยื่อเจริญขั้นทุติยภูมิ (Secondary meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดภายหลังในโครงสร้างที่มีการเจริญขั้นที่สอง เช่นรากและลำต้น เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีผนังเซลล์บาง และจัดเรียงเซลล์อย่างเป็นระเบียบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
    วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem) และไซเล็ม (xylem) ทำหน้าที่สร้างไซเล็มและโฟลเอ็มขั้นทุติยภูมิ ซึ่งกระบวนการสร้างนี้นำไปสู่การสร้างเนื้อไม้และจะดำเนินไปชั่วอายุของพืช พบในพืชใบเลี้ยงคู่ และพืชตระกูล
    คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) ทำหน้าที่สร้างคอร์กเพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermis) โดยคอร์กนี้จะกลายไปเป็นเปลือกไม้ต่อไป
    parnechymal enlargement พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดเช่น หมากผู้หมากเมีย เข็มกุดั่น ศรนารายณ์] พืชตระกูลปาล์ม เรียก anomalous secondary growth

3. เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญทรงกระบอกที่พบอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเนื้อเยื่อเจริญบริเวณนี้จะทำให้ปล้องยืดยาวออกไป

 

 

                          https://game8milk12.wordpress.com/โครงสร้างของพืช/
                          https://th.wikipedia.org/wiki/เนื้อเยื่อเจริญ

    << Go Back