<< Go Back

อภิปรายและสรุปวัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิดได้

1. ขวดแก้วขนาดใหญ่

2. ใบไม้

3. ไข่หนอนผีเสื้อ


1. นำไข่ผีเสื้อและใบไม้ใส่ในขวดแก้ว และสังเกตไข่ผีเสื้อและใบไม้ทุกวัน จนฟักตัวเป็นหม่อน
2. ตัดกิ่งไม้พร้อมใบไม้มาใส่ขวด โดยเปลี่ยนใบไม้ทุกครั้งที่ใบไม้หมด
3. สังเกตการเปลี่ยนแปลงขณะมันเลิกกินใบไม้ และเปลี่ยนสี
4. สังเกตขณะมันกำลังเปลี่ยนรูปร่าง แล้วปล่อยผีเสื้อคืนสู่ธรรมชาติ
5. วาดรูปวัฏจักรของผีเสื้อและบันทึกผลในตารางบันทึกผลการสังเกต

ภาพผลการสังเกต

ตารางบันทึกผลการสังเกต

วัน เดือน ปี ผลการสังเกต
   
   
   
   

วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ
    ผีเสื้อมีวัฏจักรการเจริญเติบโต 4 ขั้นตอน คือ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
ขั้นที่ 1 ผีเสื้อจะวางไข่เล็กๆ 10 – 100 ฟองบนใบไม้ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ไข่จะฟักออกมา
ขั้นที่ 2 ไข่ที่ฟักออกมาจะเป็นตัวหนอน มันจะกินใบไม้และเพิ่มขนาดตัวอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
ขั้นที่ 3 ตัวหนอนจะเปลี่ยนรูปร่างไป โดยมีโครงสร้างคล้ายถุงหุ้ม เรียกว่า "ดักแด้" ช่วงนี้จะไม่กินอาหาร เป็นระยะที่ตัวอ่อนอยู่นิ่งมาก
ขั้นที่ 4 หลังจากนั้น 2 – 3 สัปดาห์ ผีเสื้อจะค่อยๆ คลี่ปีกยื่นออกมาจากดักแด้ เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย

 

วัฏจักรชีวิตของกบ

กบมีการผสมพันธุ์ภายนอก คือ ตัวเมียจะปล่อยไข่และตัวผู้จะปล่อยอสุจิออกมาผสมกันภายนอกร่างกาย (ในน้ำ) กบจะมีวัฏจักรการเจริญเติบโต 4 ขั้นตอน คือ ไข่ ลูกอ๊อด ลูกกบ และตัวเต็มวัย
ขั้นที่ 1 กบตัวเมียจะวางไข่ในน้ำ ไข่กบจะมีเมือกหุ้มอยู่ ทำให้ไข่ลอยอยู่ผิวน้ำและป้องกันอันตราย
ขั้นที่ 2 ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ใช้เวลาประมาณ 12 วันจะเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 เรียกว่า "ลูกอ๊อด" จากลูกอ๊อดจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ภายใน 1 เดือน กลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 โดยที่ขาหลังจะงอกออกมาก่อน
ขั้นที่ 3 จากตัวอ่อนระยะที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 1.5 – 2 เดือน จะมีขางอกออกมาครบ 4 ขา หรือเรียกว่า "ตัวอ่อนระยะที่ 3"
ขั้นที่ 4 จากตัวอ่อนระยะที่ 3 ใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ส่วนหางก็จะหดสั้นและหายไป จะกลายเป็นตัวเต็มวัย พร้อมจะขึ้นมาดำรงชีวิตบนบก


<< Go Back