<< Go Back
               ดักแด้ หรือ pupa เป็นเป็นคำที่ใช้เรียก ระยะ พักตัวครั้งสุดท้ายก่อนที่จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย (Adult) พบในแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola เช่น ผีเสื้อ ผึ้ง ต่อ แตน มด แมลงวัน โดยปกติดักแด้จะไม่เคลื่อนที่ และไม่กินอาหาร แต่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในดักแด้ เพื่อที่จะลอกคราบออกมาเป็นตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ ดักแด้ของแมลงแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันออกไป การจำแนกโดยใช้รูปร่างและลักษณะของระยางค์ที่กำลังเจริญเติบโต เช่น ปีก แบ่งดักแด้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
            ดักแด้แบบ Obtect จะมีระยางค์อยู่ติดกับลำตัวแน่นด้วยผนังหุ้มด้านนอกจนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน พบในดักแด้ของผีเสื้อ เหลือบ และด้วงบางชนิด ถ้าดักแด้ของผีเสื้อมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม ๆ มีสีสะท้อนแสงเรียกว่า chrysalis
                ดักแด้แบบ Exarate จะมีลักษณะที่ ระยางค์และ ปีกเป็นอิสระ ไม่ติดกับลำตัว พบในดักแด้ของแมลงจำพวก ด้วงต่างๆ แมลงช้าง แมลงปีกใส แมลงแมงป่อง หนอนปลอกน้ำ ผึ้ง ต่อ แตน และมด
              ดักแด้แบบ Coarctate มีลักษณะคล้ายปลอกห่อหุ้มดักแด้ไว้ อาจมีลักษณะทรงรีหรือเป็นปล้อง หรือเรียบไม่มีระยางค์ เปลือกห่อหุ้มระยางค์นี้ คือส่วนของผนังลำตัวหนอนในระยะที่สามที่ขยายตัวออกมาและแข็งตัวขึ้น ภายในเปลือกหุ้มนี้มีตัวหนอนระยะที่สี่จะลอกคราบเพื่อเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นดักแด้ชนิด Exarate อยู่ภายใน ดักแด้ชนิดนี้พบในแมลงวันชนิดต่างๆ เช่น แมลงวันบ้าน แมลงวันหัวเขียว แมลงวันหลังลาย เป็นต้น

 

http://www.dnp.go.th/FOREMIC/NForemic/Insect_tip/rout/ดักแด้.htm

<< Go Back