<< Go Back

 
          1. ทดลองและสรุปได้ว่า ของเหลวมีแรงกระทำต่อวัตถุในทุกทิศทาง
          2. ทดลองและสรุปได้ว่าความดันของเหลวและความลึกมีความสัมพันธ์กัน

      

1. ลูกโป่ง

2. ขวดน้ำพลาสติกใส

3. ตะปู

4. ไม้ขีดไฟ

5. ตะเกียงแอลกอฮอล์

6. น้ำ

7. สีผสมอาหาร

8. กะละมัง

 

 

การทดลองที่ 1
     ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และแจกลูกโป่งให้นักเรียนกลุ่มละ 1 ลูก เพื่อทำการทดลอง โดยเริ่มจากเอาน้ำใส่ในลูกโป่ง สังเกตและบันทึกผล ดังนี้
          1. เมื่อเอาน้ำใส่ลูกโป่ง ลูกโป่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วาดภาพประกอบ
          2. เมื่อเอาน้ำใส่ลูกโป่ง ลูกโป่งมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะเหตุใด
          3. แรงที่น้ำกระทำต่อวัตถุมีทิศทางเป็นอย่างไร
การทดลองที่ 2
          1. ให้นักเรียนนำไม้ขีดไฟจุดที่ตะเกียงแอลกอฮอล์
               จากนั้นนำตะปูที่เตรียมไว้มาล้นไฟและไปเจาะที่ขวดน้ำพลาสติก 3 รู
          2. โดยให้แต่ละรูอยู่ในแนวเดียวกัน แต่ละรูอยู่ห่างกัน 1.5 นิ้ว
          3. โดยวัดจากก้นขวดขึ้นมา 1.5 นิ้ว
          4. ใช้ไม้ปลายแหลมปิดรูทั้ง 3 รูไว้
          5. เติมน้ำในขวดน้ำพลาสติกจนเต็ม
          6. วางขวดน้ำพลาสติกไว้บนโต๊ะ และมีกะละมังวางอยู่ข้างล่าง
          7. ดึงไม้ปลายแหลมออกจากรูทั้ง 3 รูพร้อมกัน และสังเกตการไหลของน้ำที่ออกจากรูขวดน้ำพลาสติกทั้ง 3 รู

ตารางบันทึกผลการทดลอง

การทดลอง ผลการทดลอง
  1. น้ำที่ไหลจากรูที่  1  
  2. น้ำที่ไหลจากรูที่  2  
  3. น้ำที่ไหลจากรูที่  3  


          เมื่อใส่น้ำเข้าไปในลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองออก สาเหตุที่ลูกโป่งพองออกเพราะเมื่อใส่น้ำเข้าไปในลูกโป่ง อนุภาคของน้ำจะดันกันเองและดันผิวด้านในของลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองออก นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่าเมื่อใส่น้ำในลูกโป่ง ลูกโป่งพองออกในทุกทิศทุกทาง ไม่ได้พองออกด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว และสรุปได้ว่าน้ำมีแรงดันทุกทิศ ทุกทาง
          ของเหลวแต่ละชนิดมีค่าความดันไม่เท่ากัน ความดันของของเหลวมีความสัมพันธ์กับความลึกของของเหลว โดยที่ระดับความลึกมาก  ความดันของเหลวก็จะมีค่ามาก  ของเหลวชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีรูปร่างหรือขนาดเป็นอย่างไร ที่ระดับความลึกเท่ากันจะมีความดันเท่ากัน แต่ถ้าระดับความลึกต่างกัน ของเหลวที่อยู่ในระดับลึกกว่าจะมีค่าความดันมากกว่า ทั้งนี้เพราะน้ำหนักของของเหลวส่วนบนจะกดทับของเหลวส่วนล่างไว้ จึงเกิดแรงดันกระทำต่อภาชนะที่บรรจุมากกว่า
          น้ำเป็นของเหลว น้ำมีความดันที่กระทำต่อสิ่งต่างๆ นักวิทยาศาสตร์จึงนำความดันมาใช้เป็นประโยชน์  เช่น  
          1. นำแรงดันน้ำจากเขื่อนมาใช้หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
              เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งไปตามที่ต่างๆ                
          2. นำไปใช้หมุนกังหัน ในบางแห่งนำแรงน้ำไปใช้หมุนกังหันที่เชื่อมต่อกับโรงสีเพื่อสีข้าวหรือบดข้าวโพด


<< Go Back