<< Go Back

     แหล่งกำเนิดไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่สามารถจ่ายพลังงานให้แก่ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนี่ต่อกับแหล่งกำเนิดนั้น ซึ่งนิยมบอกแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า (Electric Current) คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ จากศักย์ไฟฟ้าสูงไปหาศักย์ไฟฟ้าต่ำ แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive force or emf) หมายถึง พลังงานไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยประจุที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้า สามารถจ่ายให้แก่ประจุไฟฟ้ามีหน่วยเป็น"จูล"ต่อ"คูลอมบ์" หรือ โวลต์
     จากความหมายของแรงเคลื่อนไฟฟ้า ถ้าให้ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน (ที่เขียนว่า emf=1.5v) ต่อกับวงจรไฟฟ้าที่ทีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในตัวนำ 1 คูลอมบ์พลังงานไฟฟ้าที่จะใช้มี 1.5 จูล
     1. เซลล์ไฟฟ้าเคมี(Electrochemical Cell) หลักการ เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอยด้วยขั้วไฟฟ้าบวกและลบปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ ทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างขั้วเซลล์มี 2 ประเภท
          1.1 เซลล์ปฐมภูมิ เป็นเซลล์ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีและเมื่อใช้จนไม่มีกระแสไฟฟ้าในวงจรก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย
          1.2 เซลล์ทุติยภูมิ เป็นเซลล์ที่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งสามารถทำให้ความต่างศักย์ระหว่างขั้งเซลล์เพิ่มขึ้นดังเดิม โดยการอัดประจุไฟ(Charge)เช่น แบตเตอรี่รถยนตร์
     2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) หลักการ เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น "ไดนาโม" จะทำงานเมื่อทำให้แกนของไดนาโมหมุนจะเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วไดนาโม
     3. คู่ควบความร้อน (Thermocouple) หลักการความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุกเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิด ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างโลหะทั้งสอง ประกอบด้วยโลหะ 2 ชนิดที่โดยโลหะหนึ่ง พร้อมที่จะให้อิเล็กตรอนอิสระมากกว่าอีกโลหะหนึ่ง
     4. เซลล์สุริยะ(Solar Cell) หลักการ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ชั้นประกบกันและมีขั้วต่างกัน เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับแผ่นเหล็กจะทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างแผ่นบน และแผ่นล่าง เซลล์สุริยะ1เซลล์ให้กระแสไฟฟ้า25-30mA/1cm2 ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้า0.5โวลต์
     5. คลื่นไฟฟ้า
     6. ถ่านหิน หลักการ การต้มไอน้ำ
     7. แหล่งกำเนิดไฟฟ้าตามธรรมชาติ


        https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_basiscourse/wiki/707e7/

<< Go Back