<< Go Back

สามารถนำข้อมูลทั้งในเรื่องลำดับ ขนาดและระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์  กับดาวเคราะห์มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาสร้างแบบจำลอง ระบบสุริยะได้

1. กระดาษรูปดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์บริวาร 1 แผ่น
2. กระดาษขาวขนาด 20 cm x 350 cm 1 แผ่น
3. กาวลาเท็กซ์
4. ดินสอ
5. กรรไกร

กระดาษขาว กาวลาเท็กซ์
ดินสอ กรรไกร

1. ขีดเส้นแบ่งครึ่งกระดาษขาวตามยาว
2. ใช้ข้อมูลระยะทางเฉลี่ยของดาวเคราะห์บริวารมาย่อส่วน โดยใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถสร้างแบบจำลองบนกระดาษที่กำหนดให้ได้ แล้วทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งที่จะติดดาวเคราะห์แต่ละดวง
3. พิจารณาข้อมูลขนาดของดาวเคราะห์และระยะห่าง แล้วตัดดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์มาติดบนกระดาษขาวตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง ยกเว้นดาวพุธ ศุกร์ และโลก อาจใช้ปากกาหรือดินสอวาด เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก

ในการศึกษาด้านดาราศาสตร์ คนส่วนใหญ่มักจินตนาการไม่ได้ว่าดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้ามีขนาดใหญ่เพียงใด อยู่ห่างจากโลกเท่าใด แต่หากเรานำข้อมูลในเรื่องขนาดหรือระยะทางมาทำการย่อส่วนลง แล้วใช้วิธีการเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถนำมาสร้างแบบจำลองระบบสุริยะได้ การนำข้อมูลขนาดและระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ มาใช้สร้างแบบจำลองนั้น อาจใช้การย่อส่วนคนละมาตรา เนื่องจากถ้าใช้ในมาตราเดียวกัน จะต้องใช้ระยะทางที่ไกลมาก เช่น ถ้าย่อดวงอาทิตย์ให้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ดาวเนปจูนต้องอยู่ห่างดวงอาทิตย์เกือบ 300 เมตร ทำให้สร้างแบบจำลองยากขึ้น ตารางต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อการสร้างแบบจำลอง

สมาชิกของระบบสุริยะ ระยะทางเฉลี่ยจากจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (x 106กิโลเมตร) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ บริวาร (กิโลเมตร)
ดวงอาทิตย์ - 1,392,530
ดาวพุธ 57.9 4,879
ดาวศุกร์ 108.2 12,104
โลก 149.6 12,756
ดาวอังคาร 227.9 6,792
ดาวพฤหัสบดี 778.3 142,980
ดาวเสาร์ 1,427 120,540
ดาวยูเรนัส 2,871 51,120
ดาวเนปจูน 4,497 49,530

ข้อมูลระยะทางเฉลี่ย ขนาดดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์บริวาร

 

<< Go Back