<< Go Back

                      1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายลักษณะของดินในท้องถิ่น เกี่ยวกับสี เนื้อดิน และความเป็น กรด - เบส
                      2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ สืบค้น บันทึกเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในท้องถิ่นได้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
                      3. เพื่อให้นักเรียนสำรวจ สังเกต สืบค้น บันทึกเกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขเกี่ยวกับสภาพดินในท้องถิ่นได้

1. กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ 2. ถุงพลาสติกขนาด 500 cm3 1 ใบ
3. กระดาษ pH 1 กล่อง 4. เทปกาว1 ม้วน
5. กรรไกร1 อัน 6. น้ำ 1 ขวด
7. บิ๊กเกอร์ ขนาด 500 cm3  500 cm3 8. แว่นขยาย 1 ใบ

                       1. สำรวจและบันทึกของดินในท้องถิ่น เกี่ยวกับสีของดิน เนื้อดิน และความเป็นกรด – เบส
                       2. สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                       3. สำรวจปัญหา และการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพดินในท้องถิ่น
                       4. นำผลที่ได้จากการสำรวจมาอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น
                       a. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน                        b. ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์และการดูแลรักษาดิน

                       ตารางแสดงสภาพดินในท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์

        - ลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ศึกษา เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังในฤดูฝน บริเวณโดยรอบสวนผักเป็นบ้านพักอาศัย
        - การใช้ดินในอดีต เป็นที่นา ปลูกข้าว
        - การใช้ดินในปัจจุบัน ปลูกผัก
        - วิธีการ การขุดหลุม

ชั้นดิน
(ตัวอักษร)
ความลึก
(เซนติเมตร)
สีของดิน ความหยุ่นตัว
(ร่วนมาก,ร่วนน้อย)
(แน่นมาก,แน่นน้อย)
เนื้อดิน (ซื้อ) หิน
(ไม่มี,มีเล็กน้อย,มีมาก)
อินทรีย์วัตถุ
(ไม่มี,มีเล็กน้อย,มีมาก)
สมบัติทางเคมี (กรด,เบส)
A 17.0 สีดำ แน่นมาก ดินเหนียว มีเล็กน้อย มีเล็กน้อย กรด

        สภาพดินและการนำไปใช้ประโยชน์ ไม่เหมาะสม เหตุผลคือ ดินเสื่อม ปัญหาของสภาพดิน เป็นดินเหนียวเนื้อละเอียด แข็ง แน่นมาก พรวนดินได้ยาก ผลผลิตต่ำ วิธีแก้ไขปัญหา ใช้ปุ๋ยคอกปรับปรุงดิน

สรุปได้ว่า

        จากการสำรวจดินในกิจกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของดินอาจเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการตามธรรมชาติโดย การพัดพาของน้ำ   และลมอีกส่วนหนึ่งเกิดจากมนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์จนทำให้ดินเสื่อมสภาพ เช่น การปลูกพืชชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน การใส่สารเคมี ได้แก่ ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชลงในดินมากเกินไป เป็นต้น

การแก้ปัญหาดังกล่าวของดินจึงต้องใช้หลายวิธีแตกต่างกัน ดังนี้

ดินเปรี้ยว : คือ ดินที่มีสภาพเป็นกรด การปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดินใช้หลักการเดียวกับการทำสารที่เป็นกรดให้มีสภาพเป็นกลาง ด้วยการใส่สารที่เป็นด่างลงไปในดินให้มีปริมาณเท่ากับความเป็นกรดทั้งหมดของดิน สารที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ปูนขาว เมื่อใช้ปูนที่มีอนุภาคละเอียดและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน มากเท่าใด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นก็จะรวดเร็วทำให้ดินเปลี่ยนสภาพจากกรดได้เร็วขึ้นเท่านั้น

ดินเค็ม : เป็นดินที่มีเกลืออยู่ในปริมาณมาก การปรับปรุงมักจะใช้น้ำจืดชะล้างแล้วทำทางระบายน้ำเกลือทิ้ง หรือใส่แคลเซียมซัลเฟตหรือกำมะถันผงเพื่อปรับสภาพดินให้กลายเป็นเกลือโซเดียมซัลเฟตที่น้ำชะล้างออกได้ง่าย

ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ : ส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านเนื้อดิน ดินประเภทนี้มีลักษณะเนื้อหยาบ ดูดซับน้ำและแร่ธาตุได้น้อย สามารถแก้ปัญหาได้โดยใส่อินทรียวัตถุลงในดินอย่างสม่ำเสมอ อินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์เพิ่มการดูดซับน้ำ ส่วนดินเนื้อละเอียดแน่น รากพืชชอนไชได้ยาก อินทรียวัตถุช่วยให้ดินมีรูพรุนและร่วนซุยมากขึ้น หรือมีการแลกเปลี่ยนแก๊สและระบายน้ำได้ดีขึ้นอีกด้วย

ดินฝาด : เป็นดินที่มีสภาพเป็นเบสมาก ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน แต่เป็นสภาพของดินที่แก้ไขปรับปรุงได้ยาก มีความซับซ้อนมาก
             โครงสร้างของดิน หมายถึง ลักษณะของการจัดเรียงและการเชื่อมยึดกันของเม็ดดิน โครงสร้างของดินมีลักษณะแตกต่างกัน และมีผลต่อขนาดช่องว่างในดินซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของอากาศและน้ำ รวมทั้งการกระจายของรากพืชดังนั้นการใส่ปุ๋ย การรดน้ำ ในแปลงพืชที่มีลักษณะโครงสร้างดินต่างกัน ควรมีการปฏิบัติต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินเหนียว อุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีกว่าดินทราย การใส่ปุ๋ย รดน้ำ จึงไม่ต้องมากหรือบ่อยครั้งเหมือนดินทราย แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่ปลูกด้วย เพราะพืชต่างชนิดกันต้องการปริมาณน้ำที่ต่างกันตลอดฤดูกาล
             เราควรระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากดิน ควรมีการดูแลปรับปรุงดินอยู่เสมอ  เพื่อให้ดินอยู่ในสภาพที่ดี สามารถเพาะปลูกได้ในระยะเวลายาวนาน


<< Go Back