<< Go Back

การตรวจสอบสารละลายกรด - เบส

             สารละลายกรด - เบส ส่วนมากจะเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันด้วยตาได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ แต่เรามีวิธีทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ดังนี้ สารละลายลิตมัส
             สารละลายลิตมัส ทำจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัสลงในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้ำเงิน
             นอกจากสารละลายลิตมัสแล้วยังมีกระดาษลิตมัสซึ่งมี 2 สี คือ สีแดง กับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงและเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
             นอกจากสารละลายลิตมัสแล้วยังมีกระดาษลิตมัสซึ่งมี 2 สี คือ สีแดง กับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงและเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

             อินดิเคเตอร์แบบลิตมัสจะบอกได้แต่เพียงว่าสารละลายใดเป็นกรด - เบส หรือเป็นกลางเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าสารชนิดใดมีความเป็นกรด - เบส มากกว่ากัน ถ้าเราต้องการทราบความเป็นกรด - เบส มากหรือน้อยต้องใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ซึ่งมีอยู่หลายแบบ ดังนี้
             1. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์มีทั้งแบบที่เป็นสารละลายและเป็นกระดาษ ที่อยู่ในรูปสารละลายเป็นกลางจะมีสีเขียว ส่วนที่เป็นกระดาษจะมีสีน้ำตาล ใช้เทียบความเป็นกรด - เบส กับแถบสีซึ่งจะบอกได้แต่เพียงว่าสารใดเป็นกรด - เบส มากน้อยกว่ากัน
             2. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบใช้วัดค่า pH ได้คร่าว ๆ โดยเทียบสี เช่น สีส้มมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3-4 เป็นกรด สีเขียวมีค่า pH = 7 เป็นกลาง สีม่วงมีค่า pH อยู่ระหว่าง 13-14 เป็นเบส

เครื่องวัดค่า pH (pH meter)

             pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า pH ของสารละลาย ซึ่งบอกค่าได้ละเอียดกว่าการตรวจสอบด้วยอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขที่หน้าปัด และยังสามารถแสดงค่า pH ที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยาด้วย
             ในการใช้งานเครื่อง pH meter ส่วนที่สำคัญและจะต้องบำรุงรักษานั้น คือ pH electrode เพื่อให้ผลของการวัดมีความถูกต้องแม่นยำ และยังช่วยให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
             การใช้งานและการบำรุงรักษา ควรล้าง pH electrode ด้วยน้ำกลั่นก่อนและหลังการวัดตัวอย่าง ซับแห้งด้วยกระดาษอ่อนนุ่มหรือสำลีเท่านั้น อย่าถู pH electrode แรง ๆ เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ที่จะรบกวนการวัดในครั้งต่อไป

การไทเทรต

             ถ้าเราต้องการรู้ค่าที่แน่นอนของกรด เราสามารถทำได้โดยการหยดเบสลงไปทีละหยด จนสารละลายผสมเป็นกลาง โดยดูจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
             เมื่อหยดสารละลายเบสลงไปในสารละลายกรดที่มีลิตมัสผสมอยู่ สีของสารละลายจะเปลี่ยนไป หยดเบสลงไปจนกระทั่งสีของสารละลายจะเปลี่ยนไป หยดเบสลงไปจนกระทั่งสีของสารละลายเปลี่ยนเป็นสีม่วง แสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง
             ในทำนองเดียวกันเมื่อเราหยดสารละลายกรดลงไปในสารละลายเบสที่มีอินดิเคเตอร์ผสมอยู่ สีจะเปลี่ยนไปจนได้สีม่วงซึ่งแสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง
             ปฏิกิริยาของกรดกับเบส เมื่อเป็นกลางจะได้สารละลายเกลือกับน้ำ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน (Neutralization reaction)


 


              http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2227-00/

<< Go Back