<< Go Back

                   1. เพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบวิธีการและลงมือปฏิบัติเพื่อตรวจสอบสมบัติบางประการของธาตุ เช่น การนำไฟฟ้า การนำ ความร้อน และใช้สมบัติดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม
                   2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายสมบัติของธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ จากการตรวจสอบสมบัติและสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
                   3. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายสมบัติและการใช้ประโยชน์จากธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสี ในชีวิตประจำ วัน ตลอดจนวิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากธาตุกัมมันตรังสี

1. เครื่องตรวจการนำ ไฟฟ้า พร้อมกระบะถ่านไฟฉาย 1ชุด

 2. เครื่องตรวจการนำ ความร้อน    1          ชุด

3. ดินนํ้ามัน      1          ก้อน

4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด

5. กระดาษทราย     1     แผ่น

6. นํ้าร้อน    1,000   cm3

7. ธาตุต่าง ๆ ที่มีในห้องปฏิบัติการและที่ใช้ในชีวิต ประจำวัน  เช่น ทองแดง สังกะสี เหล็ก ทองคำเปลว  อะลูมิเนียม เงิน คาร์บอน กำมะถัน ลวดแมกนีเซียม   โซเดียม   ปรอท  ไอโอดีน โบรมีน ฟอสฟอรัส    อย่างละ    1  ชิ้น  

                  1. วางแผนตรวจสอบสมบัติต่างๆ ของธาตุที่รู้จัก เช่น คาร์บอน เหล็ก ทองแดงกำมะถัน
                  2. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุที่นำมาตรวจสอบสมบัติ
                  3. ออกแบบตารางบันทึกข้อมูล สังเกตและบันทึกผล นำเสนอผลและอภิปราย

                 ผลการทดลองที่ได้   คือ

                 สรุปได้ว่า 

                 1. ธาตุที่มีสมบัติบางประการเหมือนกันจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
                 2. โลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็ง นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มีความมันวาว  เหนียว ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
                 3. อโลหะมีทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส นำ ความร้อนและนำ ไฟฟ้าได้ไม่ดี เปราะ ร่วน ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นยาวไม่ได้ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวไม่สูง
                 4. ธาตุกึ่งโลหะจะมีสมบัติอยู่ระหว่างโลหะกับอโลหะ คือนำ ความร้อนและไฟฟ้าได้ไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง แต่จะนำ ไฟฟ้าได้ดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น


<< Go Back