<< Go Back

          เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตร

          1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันที่ช่วยในการมีบุตร สำหรับผู้ที่มีบุตรยาก
          2. อภิปรายในชั้นเรียนถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวมีผลทางสังคม
          3. นำเสนอผลการศึกษา

ผลการทดลองที่ได้ คือ การทำเด็กหลอดแก้วโดยใช้ไข่ หรือตัวอ่อนบริจาค (Ovum / Embryo donation)
             ในรายที่ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 42 ปี โอกาสที่จะมีการตั้งครรภ์จากการใช้ไข่ของตนเองในการทำเด็กหลอดแก้วจะลดลงมาก เพราะไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ ของสตรีวัยนี้ มีคุณภาพด้อยกว่า ไข่ของคนอายุน้อย คือไข่ที่มีคุณภาพดีได้ถูกใช้ไปหมดหรือเกือบ หมดแล้ว ไข่ที่เหลืออยู่จะไม่ไวต่อการกระตุ้นด้วยยา ทำให้ต้องใช้ยามากขึ้น และเนื่องจาก คุณภาพของไข่ที่ด้อยลง อีกทั้ง คุณภาพของตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะไม่ดีเท่าในคนอายุน้อย ผลที่ตามมาคือ อัตราการตั้งครรภ์ และการฝังตัวจะลดลงมาก นอกจากนี้ อัตราการแท้งจะสูงขึ้นด้วย ส่วนบุตรที่คลอดออกมาก็มีโอกาสพบความผิดปกติ เช่น เด็กปัญญาอ่อน (Down's syndrome) สูงขึ้น เพื่อเป็นการหลีกเลื่องปัญหาเหล่านี้ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ไข่ หรือตัวอ่อนบริจาคแทน กล่าวคือ ทำการกระตุ้นไข่ในสตรีที่มี อายุน้อยกว่า 35 ปี ซึ่งมีความประสงค์ จะบริจาคไข่ เมื่อไข่เจริญเต็มที่แล้ว ก็ทำการเก็บไข่ และนำไข่ที่ได้มาผสมกับเชื้ออสุจิของ สามีผู้รับไข่ เมื่อมีตัวอ่อนเกิดขึ้นก็ย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของผู้รับ ด้วยวิธีนี้ ผู้รับไข่จะมีการตั้งครรภ์และคลอดบุตรเอง โดยครึ่ง หนึ่งของพันธุกรรมจะมาจากสามี และอีกครึ่งหนึ่งมาจากผู้บริจาคไข่ ในกรณีเช่นนี้ อัตราการตั้งครรภ์จะสูง เหมือนในการทำเด็ก หลอดแก้วในคนอายุน้อย และอัตราการแท้งจะเท่ากับคนทั่วไป คือ ประมาณ 10-15% อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ตัวอ่อนบริจาค โดยคู่ สมรส มีบุตรยากอีกคู่หนึ่งมีตัวอ่อนเหลือจำนวนมากพอที่จะบริจาคให้แก่ผู้รับที่ ไม่มีไข่ของของตนเอง ในกรณีนี้เด็กที่เกิดขึ้นจะมี พันธุกรรมที่แตกต่างไปจากผู้รับตัวอ่อน และสามี

การทำกิ๊ฟและเด็กหลอดแก้ว GIFT(Gamete Intrafallopian Transfer) , IVF-ET (In vitro Fertilization - Embryo transfer)
             การทำกิ๊ฟ (GIFT ; Gamete Intrafallopian Transfer) หมายถึงขบวนการที่มีการเก็บไข่ออกมานอกร่างกาย จากนั้น นำไข่ที่ได้พร้อมกับตัวอสุจิใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ โดยการเจาะผ่านทางหน้าท้อง วิธีนี้นิยมทำกันมาก ในช่วงก่อนปี พศ. 2530 แต่ปัจจุบันเทคนิคของการทำเด็กหลอดแก้วมีการพัฒนาไปมาก จนมีความสำเร็จทัดเทียม กับอ ดังนั้นการ ทำกิ๊ฟจึงเกือบจะเลิกไปโดยปริยาย เพราะต้องการเจาะท้องส่องกล้อง ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเป็นการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF-ET; In Vitro Fertilization and Embryo Transfer) มีหลักกว้างๆคือ มีการเก็บไข่ ออกมาภายนอกร่างกาย โดยใช้เข็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางพอๆ กับเข็มที่ใช้เจาะเลือด แต่มีความยาว 30 เซนติเมตร แทงผ่าน ผนังช่องคลอดเข้าไปในรังไข่ที่โตเต็มที่แล้วออกมา จากนั้นแพทย์จะให้ฝ่ายชายนำน้ำอสุจิมา เพื่อล้างเอาส่วนที่เป็นน้ำออกเหลือ ไว้แต่ตัวอสุจิ และนำแต่ตัวอสุจิดังกล่าวมาใส่ในหลุมเลี้ยงไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ภายนอกร่างกาย ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะมีการ แบ่งตัว เป็น 2, 4 หรือ 8 เซลล์ ซึ่งจะพร้อมในการย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ในราววันที่ 2-3 หลังการเก็บไข่

การฉีดตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่โดยตรง (อิ๊กซี่) ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)
           ในปัจจุบันฝ่ายชายที่มีตัวอสุจิน้อย หรือการวิ่งของตัวอสุจิไม่ดี เกินกว่าที่จะให้การรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว ธรรมดาได้นั้น สามารถที่จะมีบุตร ซึ่งเป็นสายเลือดของตัวเองได้ ด้วยการนำอสุจิเพียงหนึ่งตัวมาฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง โดย ใช้เข็มแก้วที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นผม ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จ ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก เนื่อง จากสาเหตุทางฝ่าย ซึ่งในอดีตจะรักษาด้วยการใช้ยาฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) หรือยาตัวอื่น ซึ่งได้ผลน้อยมาก จากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ ทารกที่กำเนิดจากการทำอิกซี่ (ICSI) มีการพัฒนาทางสมองและร่างกาย เช่นเดียวกับทารก ที่ถือกำเนิดเองตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากสาเหตุของการมีตัวอสุจิน้อย ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีหลักฐานทางการ แพทย์ว่า หลายรายมีผลสืบเนื่องมาจากความผิดปกติของยีนส์ บนโครโมโซม ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่ว่า การทำอิ๊กซี่ อาจทำให้มี การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของการมีบุตรยากไปยังเด็ก ยังผลให้ชั่ว อายุคนถัดมา มีปัญหามีบุตรยากเช่นเดียวกับบิดา

การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT)
           เป็นวิธีการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิ นอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ ร้อยละ 20-30 แพทย์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่ ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ ฝ่ายหญิงที่ ท่อนำไข่ไม่ตัน แต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมี พังผืดมาก รวมถึงในคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย

            สรุปได้ว่า ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยการเจริญพันธุ์เช่น การปฏิสนธิในหลอดแก้ว การทำกิฟต์ (GIFT) อิ๊กซี่ (ICSI) และซิฟท์ (ZIFT)


<< Go Back