<< Go Back

            1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดสอบและสรุปสมบัติของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันได้
            2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของสารอาหารโดยใช้สมบัติบางประการของสารอาหารนั้นๆ

            1. หลอดทดลองขนาดกลาง 9 หลอด
            2. บิ๊กเกอร์ 250 cm3 1 ใบ
            3. หลอดหยด 4 อัน
            4. กระบอกตวงขนาด 10 ml 3 อัน
            5. โกร่งบดยา 1 ชุด
            6. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด
            7. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
            8. ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน
            9. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
            10. กระดาษกรองหรือกระดาษสีขาวขนาด 4 cm × 10 cm 1 แผ่น
            11. สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1% 3 cm3
            12. สารละลายไอโอดีน 1% 5 cm3
            13. สารละลายเบเนดิกต์ 10 cm3
            14. สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต 0.1 mol/L 5 cm3
            15. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 mol/L 5 cm3
            16. ไข่ขาวดิบ 1 ฟอง
            17. น้ำมันพืช 5 cm3
            18. แป้งมัน 1 กรัม
            19. อาหารที่ต้องการทดสอบ เช่น ข้าวสุก ขนมปัง น้ำนมถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสงดิบ เนื้อดิบ ชนิดละ 3 กรัม

ตอนที่ 1 วิธีการตรวจสอบอาหาร
            1. การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล
                        1.1 นำหลอดทดลองขนาดกลางมา 6 หลอด
                                    หลอดที่ 1 และ 2 ใส่น้ำแป้งสุก 0.1% 3 cm3
                                    หลอดที่ 3 และ 4 ใส่สารละลายน้ำตาลกลูโคส 1 % 3 cm3
                                    หลอดที่ 5 และ 6 ใส่น้ำ 3 cm3
                        1.2 หยดสารละลายไอโอดีน 1 % จำนวน 2-3 หยด ในหลอดที่ 1,3 และ 5 เขย่าให้เข้ากัน แล้วสังเกตและบันทึกผล
                        1.3 เติมสารละลายเบเนดิกต์ 1 cm3 ในหลอดที่ 2,4 และ 6 เขย่าให้เข้ากันแล้วนำไปต้มในบิ๊กเกอร์ที่มีน้ำเดือด ประมาณ 1-2 นาที สังเกตและบันทึกผล
            2. การตรวจสอบโปรตีน
                        2.1 ใส่ไข่ขาวดิบ 2 cm3 ลงในหลอดทดลองกลาง ทำให้เจือจางด้วยการเติมน้ำลงไปในหลอดทดลอง 1 cm3 แล้วเขย่าให้เข้า
                        2.2 หยดสารละลาย CuSo 0.1 mol/l ลงไป 5 หยด และสารละลาย NaOH 2.5 mol/1 ลงไป 3 หยด ในหลอดทดลอง เขย่าเบาๆ สังเกตและบันทึกผล
                        2.3 ทำซ้ำข้อ 2.1 โดยใช้น้ำแทนไข่ขาว
            3. การตรวจสอบไขมัน
                        3.1 หยดน้ำมันพืช 2 หยดลงบนกระดาษ แล้วเกลี่ยหยดน้ำมันให้กระจาย
                        3.2 หยดน้ำ 2 หยดลงบนกระดาษชนิดเดียวกันอีกแผ่นหนึ่ง เกลี่ยให้กระจาย
                        3.3 รอจนกระดาษแห้ง สังเกตกระดาษบริเวณที่หยดน้ำมัน และกระดาษบริเวณที่หยดน้ำ ยกขึ้นส่องให้แสงผ่าน สังเกตการส่องผ่านของแสงและบันทึกผล
ตอนที่ 2 การตรวจสอบสารอาหารในอาหารต่างๆ
            นำอาหารต่างๆ เช่น ข้าวสุก ขนมปัง น้ำนมถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสงดิบเนื้อดิบ หรืออาหารอื่นๆ ที่นักเรียนสนใจ มาตรวจสอบสารอาหารแต่ละประเภท ถ้าเป็นอาหารแข็งต้องบดให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย แล้วกรองส่วนที่เป็นของเหลวไปตรวจสอบตามวิธีการในกิจกรรมตอนที่ 1

ผลจากการทดลองตอนที่ 1 ได้ผลดังนี้
            การตรวจสอบแป้งและน้ำตาล

หลอดที่ สารละลายไอโอดีน หลอดที่ สารละลายเบเนดิกต์
1 เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน 2 ไม่เปลี่ยนแปลง
3

ไม่เปลี่ยนแปลง 4 ตะกอนสีแดงอิฐ
5 ไม่เปลี่ยนแปลง 6 ไม่เปลี่ยนแปลง

การตรวจสอบโปรตีน
            - ไข่ขาวดิบ เปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมแดง
            - น้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง
การตรวจสอบไขมัน
            - กระดาษที่หยดไขมัน ปรากฏเป็นรอย เมื่อส่องให้แสงผ่านจะโปร่งแสง
            - กระดาษที่หยดน้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง

ผลจากการทดลองตอนที่ 2 ได้ผลดังนี้

อาหาร การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
สารละลาย
ไอโอดีน
สารละลาย
เบเนดิกต์
สารละลาย
ไบยูเร็ต
ถูกับกระดาษ
1. ข้าวสุก สีน้ำเงินอมม่วง ไม่เปลี่ยนแปลง สีชมพูอ่อน ไม่โปร่งแสง
2. น้ำนมถั่วเหลือง ไม่เปลี่ยนแปลง เหลือง สีม่วง ไม่โปร่งแสง
3. เนย ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง โปร่งแสง
4. ถั่วลิสงดิบ สีม่วง ไม่เปลี่ยนแปลง ม่วง โปร่งแสง
5. เนื้อไก่ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ม่วง ไม่โปร่งแสง

            ผลการทดสอบอาหารตัวอย่าง พบว่าอาหารแต่ละชนิดมีสารอาหารต่างๆกัน สามารถทราบสารอาหารหลักในอาหารแต่ละชนิดได้ เช่น สารอาหารหลักในข้าวสุก คือ แป้งซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต ในเนยคือไขมัน ในเนื้อไก่คือโปรตีน และในถั่วลิสงมีสารอาหาร 3 ประเภทคือ ไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้ง เป็นต้น
            สรุปได้ว่า สารอาหารบางประเภทในอาหาร สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีง่ายๆ และอาหารบางชนิดมีสารอาหารหลายประเภทเป็นส่วนประกอบ


<< Go Back