<< Go Back

            1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล เพื่ออธิบายเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดต่างๆ
            2. เพื่อให้นักเรียนสามารถตระหนักถึงความสำคัญของหัวใจและนำความรู้มาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

            1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจจากแหล่งข้อมูลในท้องถิ่น ในประเด็นต่อไปนี้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายในชั้นเรียน
            - ชนิดของโรคหัวใจ
            - สาเหตุและอาการของโรคหัวใจ
            - วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหัวใจ
            - วิธีปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจ

จากการค้นหาข้อมูล ได้ข้อมูลดังนี้
ชนิดของโรคหัวใจ
            โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเองมีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รูรั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้
            โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยังอาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้
            โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
            โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
            โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ
            โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิดไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น
            การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก
            มะเร็งที่หัวใจ คุณคงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับมะเร็งตามอวัยวะต่างๆบ่อยๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ไต เต้านม มดลูก และ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ แต่น้อยครั้ง มากที่จะได้ยิน " มะเร็งหัวใจ " เพราะเนื้องอกที่หัวใจพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของมะเร็งหัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น


สาเหตุและอาการของโรคหัวใจ
            โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้
            โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
            โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)
            โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก
          โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายอาการ เช่น
            1. เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
            2. เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง ใจสั่น หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ ขาบวม เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น เป็นลม วูบ หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองเห็นภาพไม่ชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ
วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหัวใจ
            หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไขมันคอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์สมองแต่ หากมีไขมันนี้มากเกินไป จะเกิดการสะสมของไขมัน ในผนังของหลอดเลือดได้ ไขมันที่ร้ายที่สุด คือ โคเลสเตอรอลชนิด แอล-ดี-แอล ในทางกลับกัน ไขมันโคเลสเตอรอล ชนิด เอช-ดี-แอล เป็นไขมันชนิดดี ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ควบคุมระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้เกิน 200 แอล-ดี-แอล ไม่เกิน 130 และ เอช-ดี-แอล ควรมากกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้นหลักสำคัญของการลดระดับไขมันในเลือด คือ การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เราเห็นว่ามีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนื้อติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ข้าวขาหมู , ข้าวมันไก่ , กะทิ , เนย , พิซซ่า , แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น
            เลิกบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือแม้แต่ผู้ได้รับควันบุหรี่สม่ำเสมอ โดยไม่ได้สูบเอง ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมาก การสูบบุหรี่ยังเสี่ยง ต่อการเกิดโรคอื่นอีกมากมาย ทั้งๆ ที่รู้ว่าอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น แต่ก็ยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่อีกมาก หากเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด พบว่าโอกาสเสี่ยงจากโรคหัวใจขาดเลือด จะลดลงเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ไม่สูบบุหรี่
            ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายที่ได้ประโยชน์ต่อหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หมายถึง การออกกำลังกายต่อเนื่อง เป็นจังหวะ หายใจ สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น ต้องทำต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อหัวใจช่วยให้ไขมันชนิดดี คือ เอช-ดี-แอล สูงขึ้น ไขมันชนิดนี้ ช่วยลดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ผลดีอย่างมากของการออกกำลังกาย คือ ช่วยให้จิตใจ แจ่มใส ไม่แก่เร็ว หุ่นดี ระบบขับถ่ายปกติ และทำให้ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้นด้วย
วิธีปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจ
        การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
            1. ทำจิตใจให้เบิกบาน คือ ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วควรทำจิตใจให้เบิกบานเพื่อทำให้เลือดไปหล่อ เลี้ยงสมองได้ดีขึ้นและป้องกันการเกิดความเครียดซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ หัวใจล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิตได้
            2. ต้องการความสุขและความสบายใจให้กับจิตใจ คือ จากข้อมูลการศึกษาค้นพบว่าผู้ป่วยทุกคนล้วนแต่ต้องการความสุขและความสบายใจ จากบุคคลทั้งในครอบครัวและสังคม เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักขาดกำลังใจที่จะอยู่ต่อไป แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ได้รับความสุขและความสบายใจจากคนในครอบครัวหรือสังคม แล้วผู้ป่วยจะมีกำลังใจและมีความสุขซึ่งถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อตนเอง มากขึ้น
            3. ควรรับประทานยาให้ตรงต่อเวลาตามที่แพทย์สั่ง เพราะจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
            4. ควรเข้ารับการรักษาเป็นประจำ ถึงแม้ค่าใช้จ่ายจะดูสูงเกินไปแต่ผู้ป่วยไม่ควรหยุดการรักษาเพียงเท่านั้น แต่ควรเข้ารับการรักษาเป็นประจำทุกเดือนหรือทุกครั้งที่มีอาการของโรคเกิด ขึ้น
            5. ผู้ป่วยควรมีคนคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด เผื่อว่าหากมีอาการของโรคเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยเอง คนที่คอยดูแลผู้ป่วยอยู่จะได้ รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อให้คณะแพทย์ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ผู้ป่วยควรมองโลกในแง่ที่ดีเอาไว้ไม่ควรมองโลกในแง่ร้าย มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของท่านเองมากขึ้น และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไม่ควรจะทำให้ผู้ป่วยเสียใจ แต่ควรให้กำลังใจ คำปรึกษา แก่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
            สรุปได้ว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจมีหลายประการ ผู้มีปัจจัยเสี่ยงมากก็จะเป็นโรคง่ายขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือกรรมพันธุ์ การบริโภคอาหารไขมันสูง การสูบบุหรี่ และโรคความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็เช่น โรคเบาหวาน การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย และความเครียด ผู้ที่มีคนในครอบครัว เช่น บิดามารดาหรือพี่น้องเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน โดยเฉพาะหากเป็นตอนอายุต่ำกว่า 55 ปี จะเสี่ยงต่ออาการหัวใจล้มมากกว่าปกติ ส่วนสมาชิกในครอบครัวที่มักมีพฤติกรรมไม่ดีตามๆ กัน เช่น ชอบกินอาหารไขมันสูง ก็อาจทำให้เป็นโรคทางกรรมพันธุ์เหมือนๆ กัน ดังนั้นทุกคนในครอบครัวต้องตรวจร่างกายเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากหากได้รับการวินิจฉัยทันท่วงที และดูแลตนเอง ด้วยการบริโภคอาหารไขมันต่ำ อย่างเคร่งครัด ร่วมกับใช้ยาลดระดับคอเลสเตอรอล ก็จะทำให้อายุยืนได้ไปจนแก่เฒ่า


<< Go Back