|
ภูมิต้านทานคือ
ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มโรคกันคือสารที่ร่างกายสร้างออกมาต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน การฉีด การหายใจ หรือทางผิวหนังและเยื่อบุโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม แหล่งผลิตภูมิคุ้มกันที่สำคัญสุด คือ เม็ดเลือดขาว ซึ่งมี 3-4 ชนิด ท่านทราบหรือไม่ว่า นอกจากอาหารที่เป็น แป้ง น้ำตาล และเส้นใยอาหาร โปรทีน ไขมัน และเกลือแร่แล้ว คนเรานั้นอยู่ได้เพราะระบบภูมิคุ้มกัน หากปราศจากภูมิคุ้มกัน ร่างกายจะถูกโจมตีด้วยโรคภัยไข้เจ็บทันที เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในคนที่ติดเชื้อหรือที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ที่กำลังระบาดอยู่ในเวลานี้ เพราะคำว่า เอดส์ (Aids) นั้นก็ย่อมาจากกลุ่มอาการอันเนื่องมาจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Auto Immune Deficiency Syndrome) นั้นเอง มีตัวอย่างโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกอย่างหนึ่งที่เนื่องมาจากการที่ร่างกายแพ้ภัยตัวเอง เช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคผิวหนังบางชนิด โรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันภายในร่างกายผิดปกติทั้งสิ้น ความเครียดมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน ร่างกายของคนเราที่ตกอยู่ในภาวะเครียดจะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งหลั่งจากต่อมหมวกไตเรียกว่า คอร์ติซอล สารชนิดนี้มีฤทธิ์ในการกดภูมิต้านทานหรือไปขัดขวางการสร้างสารส่งข่าวที่สั่งให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค ดังนั้นผู้ที่มีความเครียด จึงมักจะมีความต้านทานต่ำ เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสารชนิดนี้ออกมาอยู่ตลอดเวลาทั้งในขณะตื่นและในเวลาหลับ ในสภาพปกติ ร่างกายจะหลั่งสารนี้ออกมาในตอนเช้าถึงบ่าย และจะค่อย ๆ ลดลงในตอนเข้านอนไปจนถึงเที่ยงคืน ในกรณีที่มีความเครียดหนัก ตกใจ กลัว มากเท่าใด ต่อมหมวกไตจะหลั่งทั้ง คอร์ติชอล และ อะดรีนาลีน ยิ่งร่างกายหลั่งออกมามากเท่าใด ความต้านทานก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น ในผู้ที่มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป จะมีสารคอร์ติซอลสูงขึ้นตามอายุอยู่แล้ว หากมีความเครียดอยู่ เสมอ ๆ ร่างกาย ย่อมเจ็บไข้ได้ป่วยง่าย แต่หายยาก ร่างกายอ่อนเพลียและแก่เร็ว การที่ร่างกายขาดภูมิต้านทานทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเกิดโรคมะเร็งได้ด้วย ทั้งนี้เพราะเม็ดเลือดขาวบางชนิดไม่สามารถ สร้างสารที่จะต่อต้านทั้งเชื้อโรคและเชื้อมะเร็งได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลล์ตายเซลล์ป่วยจากสารตกค้างภายในร่างกายที่จะเข้าไปทำลายสารพันธุกรรมภายในเซลล์ เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นมาร่วมเป็นปัจจัยเสริม
การเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ร่างกายคนเรามีแนวต้านเชื้อโรคอยู่สามแนว แนวแรก คือมีผิวหนังไว้ป้องกันไม่ให้เชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย แนวที่สอง คือเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ เช่น เยื่อบุหลอดลม เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น แนวที่สาม คือภูมิคุ้มกันที่สร้างโดยเม็ดเลือดขาวออกมา ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ในกรณีที่มีเชื้อโรคหรือมีสิ่งแปลกปลอมผ่านแนวต้านเข้าสู่ร่างกาย ปฏิกิริยาที่แสดงออกในตอนแรก คือ อาการแพ้ (Allergy) เช่น ทางผิวหนัง อาจเป็น ลมพิษ หรือ ผื่นคัน หากรุนแรงอาจช็อค หมดสติ เช่นที่เกิดจากการแพ้สารหรือยาฉีดบางชนิดที่ร่างกายไม่ยอมรับ ในกรณีที่มีแผล หรือ เยื่อบุอักเสบ บอบบาง หรืออ่อนแอ เชื้อโรคจะเข้าไปได้ง่าย ไม่ว่าทางผิวหนัง หลอดลม หลอดอาหาร ลำไส้ เป็นต้น ยิ่งหากไม่มีเม็ดเลือดขาวออกมาต่อสู้ห้อมล้อมเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเอาไว้ เชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ถ้าร่างกายสู้ได้ก็จะเกิดการอักเสบ มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน หรือมีไข้ เป็นฝีเป็นหนองอยู่ระยะหนึ่ง ถ้าร่างกายชนะ แผลหรือเนื้อเยื่อที่อักเสบก็จะหายไป ถ้าแพ้เชื้อก็จะลุกคืบหน้าเข้าสู่อวัยวะที่สำคัญภายใน ทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม ปอด อักเสบ สมองอักเสบ เป็นหนองเป็นฝีตามอวัยวะต่าง ๆ นี่คือกระบวนการต่อสู้ระหว่างเชื้อโรคกับระบบภูมิคุ้มกันของเม็ดเลือดขาว ดังนั้น เราจึงควรหาวิธีเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ดังนี้
1. บริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการสมัยใหม่ ที่ค้านแนวความคิดเดิมที่เชื่อว่า “เนื้อสัตว์นั้นเลว มันเปลวนั้นชั่ว” (Protein is bad, fat is worse.) ดังเนเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนมาบริโภคตามแนวทางที่ถูกต้องในสมัยนี้คือ “กินน้ำตาลให้น้อย ค่อยเพิ่มอาหารเนื้อ พลอยเอื้ออาหารมัน” (Low carl), high protein and more fat) กล่าวคือ ลดการบริโภคแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง เพิ่มโปรทีนและกรดไขมันให้มากขึ้น
2. เพิ่มไวตามินและเกลือแร่เพื่อช่วยในการเสริมสร่างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและเหมาะสมกับเพศและวัย
4. เสริม สุขภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพของจิต โดยการลดความเครียด ลดกิเลส ตัณหาและอุปาทานลงเสียบ้าง มีอุเบกขา คือพอใจในสิ่งที่ตนเองหามาได้โดยสุจริต เพิ่มประสิทธิภาพในการทำมาหาเลี้ยงชีพตามแนวสัมมาอาชีวะดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามความสามารถของแต่ละบุคคลที่มีไม่เท่ากัน
http://www.sanlicorp.com/therapeuticuse/immunity.html
|