<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถกำหนดปัญหาของการทดลองได้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถตั้งสมมุติฐานจากปัญหาที่กำหนดได้
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและสรุปผลเกี่ยวกับการแพร่ของสารได้
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความหมายของการแพร่ของสารได้
5. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายหลักการแพร่ได้


1. เกล็ดด่างทับทิม
(โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต) 3 - 4 เกล็ด


2. บิกเกอร์ขนาด 250 cm3 1 ใบ


3. น้ำกลั่น 100 cm3

1. ใส่น้ำกลั่นลงในบิกเกอร์ขนาด 250 cm3 ปริมาตร 100 cm3
2. ใส่เกล็ดด่างทับทิม 3 - 4 เกล็ดลงในน้ำกลั่น สังเกตและบันทึกผล
3. สังเกตสีของน้ำกลั่นหลังจากใส่เกล็ดด่างทับทิมแล้วทุกนาที เป็นเวลา 5 นาที แล้วบันทึกผล

ผลการทดลองที่ได้ คือ

เวลา (นาที)

การเปลี่ยนแปลงสีของน้ำ หลังใส่เกล็ดด่างทับทิม

เริ่มทดลอง

ไม่มีสี

1

เริ่มมีสีชมพูอ่อนๆ

2

สีชมพูเข้มขึ้น

3

สีชมพูเข้มขึ้น

4

สีชมพูเข้มขึ้น

5

สีชมพูเหมือนกับสีของเกล็ดด่างทับทิม

สรุปได้ว่า           
การกระจายของอนุภาคของด่างทับทิม  หรือสารจากที่มีความเข้มข้นของอนุภาคสารมาก  ไปสู่สารที่มีความเข้มข้นของอนุภาคสารน้อย จนกระทั่งอนุภาคของสารบริเวณทั้งสองมีความเข้มข้นเท่ากัน โดยการกระจายของอนุภาคของอนุภาคสารมีทิศทางที่ไม่แน่นอน เรียกการกระจายนี้ว่า "การแพร่ (Diffusion)"


1. บิกเกอร์ขนาด 100 cm3 1 ใบ


2. น้ำ 30 cm3


3. ช้อนตักสารเบอร์ 1 1 อัน 


4. โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) 10 เกล็ด

1. ใส่น้ำจำนวน 30 cm3 ลงในบิกเกอร์ขนาด 100 cm3
2. ค่อยๆ หย่อนเกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตหรือด่างทับทิม ซึ่งมีสีม่วงดำจำนวน 2 - 3 เกล็ด ลงในน้ำโดยไม่ขยับบิกเกอร์
3. ใช้กระดาษขาวบังด้านหลังของบิกเกอร์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกล็ดด่างทับทิมตกลงไปในน้ำจนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 5 นาที แล้วบันทึกผล

ผลการทดลองที่ได้ คือ

ช่วงเวลาที่สังเกต

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงสีของด่างทับทิมในน้ำ

ในวินาทีแรก

เกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตบางส่วนเริ่มละลาย
เห็นเป็นทางสีม่วง

ผ่านไป  5  นาที

เกล็ดละลายน้ำทำให้บริเวณรอบๆ มีสีม่วง เกล็ดเป็นสีม่วงเข้ม และเมื่อทิ้งไว้จะเห็นสีม่วงกระจายไปทั่วทั้งบิกเกอร์

สรุปได้ว่า อนุภาคของสารมีการกระจายจากที่ซึ่งมีความเข้มข้นของอนุภาคของสารมาก ไปสู่ที่ซึ่งมีความเข้มข้นของอนุภาคน้อยกว่า เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  "การแพร่"


1. น้ำ 30 cm3


2. สารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40% 30 cm3


3. น้ำหมึกแดง 10 cm3


4. ยางรัด 2 เส้น


5. กระดาษแก้วใสไม่มีสี
ขนาด 15 cm. x 15 cm. 1 แผ่น


6. หลอดแก้วขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 0.5 cm. ยาว 20 cm. 1 อัน

7. กล่องพลาสติกเบอร์ 11 ใบ

  
8. บิกเกอร์ขนาด 100 cm3 1 ใบ

9. หลอดฉีดยาขนาด 30 cm. 1 อัน


10. ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด


11. ดินสอเขียนแก้ว 1 แท่ง

 

1. ใช้กระดาษแก้วใสหรือเซลโลเฟนที่เตรียมมาชุบน้ำให้เปียก วางบนกล่องพลาสติกเบอร์ 1 ดังรูป แล้วใส่สารละลายน้ำตาลเข้มข้นร้อยละ 40 จำนวน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วรวบให้เป็นถุง

2. จุ่มหลอดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ลงไปในถุงลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ผูกปากถุงและหลอดแก้วให้แน่น โดยไม่ให้มีฟองอากาศทั้งในถุงและในหลอดแก้ว
3. จุ่มถุงสารละลายน้ำตาลลงในบิกเกอร์ หรือกล่องพลาสติกที่มีน้ำบรรจุอยู่โดยให้ตำแหน่งที่รัดปากถุงอยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อย แล้วยึดหลอดแก้วด้วยที่จับหลอดทดลองติดไว้ กับขาตั้ง
4. ทำเครื่องหมายแสดงระดับน้ำในหลอดแก้วไว้จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่อไปประมาณ 5 นาที แล้วบันทึกผลการสังเกต
5. ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 - 4 แต่เปลี่ยนน้ำในบิกเกอร์เป็นน้ำหมึกสีแดง

ผลการทดลองที่ได้ คือ

ของเหลวที่ใช้แช่
ถุงสารละลายน้ำตาลทราย

การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้

น้ำ

ระดับของเหลวในหลอดแก้วสูงขึ้น

น้ำหมึกแดง

ระดับของเหลวในหลอดแก้วสูงขึ้นและของเหลวในถุงเซลโลเฟนมีสีแดง

สรุปได้ว่า โมเลกุลของน้ำในสารละลายน้ำตาลเจือจาง แพร่ผ่านกระดาษเซลโลเฟนเข้าสู่สารละลายน้ำตาลเข้มข้น  โดยอาศัยกระบวนการออสโมซิส



<< Go Back