<< Go Back

การแพร่เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูง ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ เกิดจากการที่อนุภาคของสารซึ่งมีพลังงานจลน์อยู่ในตัวเอง จึงไม่อยู่นิ่ง ทำให้อนุภาคของสารกระทบกัน บริเวณใดที่มีอนุภาคของสารหนาแน่นมากก็กระทบกันมาก ทำให้อนุภาคของสารกระจายไปในตัวกลางทุกทิศทาง การแพร่แบบธรรมดาสารจะแพร่จากบริเวณที่สารมีความหนาแน่นมาก ไปยังบริเวณที่สารมีความหนาแน่นน้อย จนความหนาแน่นของสารในทุกบริเวณเท่ากัน สภาวะเช่นนี้เรียกว่า "สมดุลของการแพร่" (dynamic equilibrium) ซึ่งอัตราการแพร่ไปและกลับจะเท่ากัน

สารที่มีขนาดเล็กและละลายในไขมันได้ดีและไม่มีขั้วจะเข้าสู่เซลล์ โดยกระบวนการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดี และมีอัตราการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้สูง เช่น ไนโตรเจน  ออกซิเจน อนุภาคของสารบางชนิดแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงไม่ได้ จะใช้การแพร่ผ่านรูหรือช่องของโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ไอออนขนาดเล็ก เช่น โพแทสเซียมไออน โซเดียมไออนหรือคลอไรด์ไออน จะแพร่ผ่านช่องโปรตีนได้

   

1. ความเข้มข้นของสารที่จะแพร่ ถ้ามีความเข้มข้นมาก ความสามารถในการแพร่จะมาก
2. อุณหภูมิ ถ้าเพิ่มอุณหภูมิให้กับสารที่จะแพร่ ความสามารถในการแพร่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มอุณหภูมิเป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ของสาร
3. ความดัน ความดันจะทำให้โมเลกุลของสารเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
4. สิ่งเจือปนและตัวกลางในการแพร่ ถ้ามีสารอื่นที่ไม่ต้องการในการแพร่เข้ามาปะปนมาก จะเป็นอุปสรรคในการแพร่ของสารที่ต้องการแพร่ ถ้าสิ่งเจือปนมากการแพร่จะช้าลง หรือตัวกลาง ในการแพร่มีโมเลกุลหนาแน่นมาก การแพร่ก็ช้าลง รวมถึงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่กั้นระหว่างการแพร่
5. การดูดติด ถ้าโมเลกุลของสารที่จะแพร่ถูกโมเลกุลหรืออนุภาคหรือองค์ประกอบของ สารอื่นในระบบการแพร่เดียวกันดูดติดไว้ ความสามารถในการแพร่จะต่ำลง

https://kwangbabyhood.wordpress.com/เนื้อหาบทเรียน/การแพร่-diffusion/

<< Go Back