น้ำพริกเผา
น้ำพริก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยคำว่า "น้ำพริก" มีความหมายมาจากการปรุงด้วย การนำ สมุนไพร กระเทียม พริก หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขลง บด รวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมีดอกแค มะเขือยาว แตงกวาถั่วฟักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา กุ้ง
คนในสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้นเพื่อเพิ่มรสชาติและระดับกลิ่นคาวต่างๆน้ำพริกถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ หรือใช้ในการรับประทานอาหารกับข้าวก็ได้
สำหรับน้ำพริกแบบทีใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวกแกง จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้นเพื่อรวบรวมส่วนผสมต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงลง และยังสามารถทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมากในปัจจุบันได้มีการนำน้ำพริกชนิดต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายประเภท รวมถึงนำมาผัดกับข้าว เช่น ข้าวผัดน้ำพริกนรก ข้าวผัดน้ำพริกปลาทู เป็นต้น
|
|
1. เครื่องชั่งดิจิตอล |
2. ครกและสาก |
|
|
|
|
3. เขียง |
4. มีด |
|
|
|
|
5. หม้อ |
6. ทัพพี |
|
|
|
|
7. เตาไฟฟ้า |
8. ถ้วยตวง |
|
|
|
|
9. ช้อนตวง |
10. ช้อนขนาดต่าง ๆ |
|
|
|
|
11. ชามผสม |
12. ไม้พาย |
|
|
|
|
13. กระทะ |
14. ตะหลิว |
|
|
1. หอมแดง 1 ถ้วย |
2. กระเทียมไทย ¼ ถ้วย |
|
|
|
|
3. พริกชี้ฟ้าแห้งเม็ดใหญ่ 20 เม็ด |
4. กุ้งแห้งคั่วป่น 1/8 ถ้วย |
|
|
|
|
5. กะปิดี ปิ้งหอม 1 ช้อนโต๊ะ |
6. น้ำมะขามเปียก ½ ถ้วย |
|
|
|
|
7. ดอกเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ |
8. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ |
|
|
|
|
9. น้ำตาลมะพร้าว ¾ ถ้วย |
10. น้ำมันถั่วเหลือง ½ ถ้วย (น้ำมันพืช) |
1. ล้างพริกแห้งให้สะอาดแล้วแช่น้ำทิ้งไว้จนนิ่ม จากนั้นซอยให้ละเอียด (การซอยให้ละเอียดจะทำให้โขรกเป็นเนื้อเดียวง่ายขึ้น) และนำลงครก
2. หัวหอมแดง ตัดราก ปอกเปลือก และซอยให้มีขนาดเล็กจะทำให้โขรกง่ายขึ้น จากนั้นพักไว้
3. ปอกเปลือกกระเทียมไทยโดยบุให้แตกเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมาและจะทำให้โขรกง่ายขึ้น จากนั้นพักไว้
4. พริกที่นำลงครกแล้วให้ใส่เกลือเล็กน้อย (การใส่เกลือจะทำให้เวลาโขรกพริกจะแหลกง่าย และยังช่วยให้วัตถุดิบคงสีสดไว้)
5. โขรกพริกจนละเอียด
6. ตามด้วยหัวหอมซอยและกระเทียมบุโขรกต่อให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว
7. ตักใสถ้วยเตรียมนำไปผัด
1. ตั้งกระทะใช้ไฟอ่อนและใส่น้ำมันพืช
2. ตามด้วยเครื่องโขรกทันทีไม่ต้องรอให้น้ำมันร้อน (เพราะหากรอจนน้ำมันร้อนอาจจะทำให้เครื่องโขรกไหม้ ) จากนั้นคนให้กระจายทั่วกระทะ
3. โขรกกุ้งแห้งโดยไม่ต้องโขรกละเอียดเพราะต้องการโชว์เนื้อกุ้ง
4. ผัดคนไปมา
5. ใส่กุ้งโขรกลงไป ผัดสักครู่ให้เข้ากัน
6. ตามด้วยกะปิย่าง ผัดไปสักครู่ (ขณะผัดหากน้ำมันเริ่มแห้งสามารถเติมน้ำได้)
7. เร่งเป็นไฟกลางเพื่อเพิ่มความร้อนให้อาหาร จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกผัดไปมาและชิมรสชาติอาหาร
8. จากนั้นปรุงเกลือและชิมรส (หากต้องการรับประทานกับเครื่องเคียงอาจจะปรุงให้รสจัดขึ้น)
9. ลดเป็นไฟอ่อน ใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไปผัดไปมาให้เข้ากัน (ชิมรสอีกครั้งปรุงรสตามความชอบ) จากนั้นปิดไฟจะได้น้ำพริกเผาและพักไว้เตรียมนำไปผัดกับเนื้อไก่
1. จัดวางกุ้งไว้ด้านข้างโดยหันส่วนหน้าของกุ้งเข้าด้านในจาน
2. หั่นก้านสะเดาออกจากต้นคั่ว
3. วางสะเดาชิดส่วนหัวกุ้ง
4. นำแตงกวามาหั่นแฉลบ
5. วางแตงกวาต่อจากต้นสะเดา
6. ตามด้วยผักที่รับประทานได้ เช่น ผักชีลาว และผักอื่น ๆ
|
|
1. กระเทียมไทยสับ 1 ช้อนโต๊ะ |
2. น้ำพริกเผา (เฉพาะเนื้อ) 3 ช้อนโต๊ะ |
|
|
|
|
3. ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ |
4. ซอสพริก ¾ ถ้วย |
|
|
|
|
5. น้ำตาลมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ |
6. น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ |
|
|
|
|
7. น้ำปลา 1 ช้อนชา |
8. ดอกเกลือ ½ ช้อนชา |
|
|
|
|
9. น้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ |
10. น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ (น้ำมันพืช) |
|
|
|
11. น้ำร้อน ¼ ถ้วย |
บุกระเทียมไทยและสับให้เป็นชิ้นเล็ก
1. ตั้งหม้อใช้ไฟกลาง ใส่น้ำมันพืชขณะที่หม้อยังอยู่ในอุณหภูมิห้อง เพื่อคาดเดาอุณหภูมิก่อนใส่อาหารลงไป
2. ใส่กระเทียมสับลงไปโดยไม่ต้องรอให้น้ำมันร้อน
3. ผัดกระเทียมไปมาจนมีกลิ่นหอม (ไม่ต้องรอให้เหลือง แค่ได้กลิ่นหอม)
4. จากนั้นตามด้วยน้ำมะขามเปียก
5. ตามด้วยซอสพริก
6. ตามด้วยน้ำมันหอย
7. ตามด้วยน้ำตาลปีบ และผัดทั้งหมดให้เข้ากัน
8. ตักเฉพาะเนื้อน้ำพริกเผาที่ทำเสร็จในขั้นตอนแรกใส่ลงไป โดยตักเฉพาะเนื้อลงไปผัดให้เข้ากัน
9. ตามด้วยน้ำปลา (การปรุงน้ำปลาขณะอาหารร้อนจนเดือดจะทำให้กลิ่นน้ำปลาหอมมากขึ้น)
10. ตามด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเปล่าเพื่อให้น้ำซอสผัดง่ายและไม่ข้นเกินไปเคี่ยวให้เข้ากัน จากนั้นชิมรสชาติ
11. ตามด้วยน้ำมันงา (ใส่น้ำมันงาแล้วปิดไฟทันทีเพราะกลิ่นของน้ำมันงาค่อนข้างมีความอ่อนไหว ถ้าหากใส่ไว้นานกลิ่นจะหาย) จากนั้นคนให้เข้ากัน
12. ตักใส่ถ้วยพักไว้เตรียมนำไปผัดกับเนื้อไก่
"กงเปาจีติง หรือไก่ผัดพิทักษ์วัง เป็นอีกหนึ่งเมนูดำรับเสฉวนที่มีความเป็นมายาวนาน และได้รับความ
นิยมอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวจีนและชาวต่างชาติ ด้วยรสชาติเผ็ดเปรี้ยวหวานเค็มลงตัว ใช้เวลาในการปรุงอาหาร
รวดเร็ว จึงเป็นเมนูยอดฮิตที่สั่งกันติดปากเมื่อเดินเข้าร้านอาหารจีน
กล่าวกันว่าเมนู "ไก่ผัดพิทักษ์วัง" นี้มีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเสียนเฟิงแห่งราชวงศ์ชิง โดยขุนนางใหญ่ชาวกุ้ยโจวคน
หนึ่งนามว่า ติงเป่าเจิน ซึ่งดำรตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลเสจวนในสมัยนั้น ชอบทานไก่ผัดถั่วสงและพริกแห้ง
เป็นอย่างมาก ยามจัดงานเลี้ยงก็มักจะสั่งให้พ่อครัวเรียมเมนูนี้รับรองแขกจนกลายเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาแขกเหรื่อ
ในเวลาต่อมาเขาได้สร้างคุณูปการให้แก่ประเทศจนได้รับแต่งตั้งตำแหน่งผู้พิทักษ์จากราชสำนัก ผู้คนเรียกเขาว่า "ติงกง
เปา หรือผู้พิทักษ์วังแซ่ติง เมนูไก่ผัดของเขาจึงมีชื่อเรียกตามฉายาของเขาว่า "ไก่ผัดพิทักษ์วัง" และแพร่
หลายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมนูนี้ในประเทศไทยเองก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายหารับประทานได้ทั่วไปตามร้านอาหารจีน ทั้งยังมีการดัดแปลงนำ "เม็ดมะม่วงหิมพานต์" มาผัดแทนถั่วลิสงซึ่งให้สชาติหวานมันไปกแบบ และดัดแปลงน้ำซอสที่ใช้ผัดเป็นชนิดที่หาซื้อได้ทั่วไปในไทย กลายมาเป็น "ไก่ผัดเม็ดมะม่วง" เมนูยอดนิยมของคนไทย แม่รสชาติจะสู้กงเป่าจี้ติงที่เป็นเมนูดั้งเดิมไม่ได้แต่รสชาติก็พอจะมีความใกล้เคียงกันอยู่ค่ะ
|
|
1. สะโพกไก่สด 300 กรัม |
2. เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ ½ ถ้วย |
|
|
|
|
3. พริกแห้งเม็ดใหญ่ 5 เม็ด |
4. พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด |
|
|
|
|
5. แป้งสาลีอเนกประสงค์ ½ ถ้วย |
6. กระเทียมจีน 3 กลีบ |
|
|
|
|
7. พริกไทยป่น ½ ช้อนชา |
8. ต้นหอม 2 ต้น |
|
|
|
9. ซอสผัด |
1. นำพริกชี้ฟ้าแห้งมาหั่นเป็นท่อนแล้วนำเม็ดพริกออก
2. นำกระเทียมจีน (กระเทียมเม็ดใหญ่) มาบุและสับเป็นชิ้นเล็ก
3. ตั้งกระทะใช้ไฟกลางใส่น้ำมันเตรียมทอด (ใส่น้ำมันพืชพอประมาณขณะที่กระทะยังอยู่ในอุณหภูมิห้อง)
4. เตรียมจานสำหรับพักอาหารที่ทอดแล้วโดยวางกระดาษอเนกประสงค์ไว้บนจาน
5. เมื่อน้ำมันเริ่มร้อนให้ใส่พริกชี้ฟ้าแห้งที่แล้วหั่นลงทอด คนไปมาระวังอย่าให้ไหม้ คนไปมากระทั่งพริกชี้ฟ้าเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเข้ม จากนั้นตักขึ้นพักที่จานพักอาหารที่เตรียมไว้
6. ตามด้วยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลงทอด คนไปมาพอเหลือง
7. ตักขึ้นพักที่จานพักอาหารที่เตรียมไว้และลดเป็นไฟอ่อนเตรียมทอดเนื้อไก่ต่อไป
8. นำสะโพกไก่มาหั่นพอคำ
9. จากนั้นนำไปคลุกกับแป้งสาลีโดยคลุกพอใหติดเนื้อไก่ไม่ต้องหนา (การคลุกแป้งก่อนทอดนั้นเพื่อให้ผิวสัมผัสของเนื้อไก่มีความกรอบ)
10. เร่งเตาไฟฟ้าจากไฟอ่อนเป็นไฟกลาง ตามด้วยเนื้อไก่ที่คลุกแป้งโดยวางด้านที่เป็นหนังลงทอดก่อนจนครบทุกชิ้น (ไม่ต้องคนหรือกลับบ่อยเพราะจะทำให้เนื้อไก่เละ และความมันของไก่ก็จะออกหมดทำให้เนื้อไก่แห้ง)
11. ระหว่างทอดเนื้อไก่ ให้หั่นต้นหอมแบบเฉียงขนาดพอคำ
12. นำพริกชี้ฟ้ามาหั่นแฉลบ
13. กลับมาดูไก่ทอด ถ้าไก่พอเหลืองแล้วให้กลับด้านไก่ กลับด้านเนื้อไก่แบบนี้จนกระทั่งเนื้อไก่สุกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ (เพราะถ้าเนื้อไก่สุกในกระทะทันทีแล้วตักขึ้นพักเพื่อรอทำขั้นตอนต่อไป เนื้อไก่อาจจะแห้งและแข็ง)
14. เร่งไฟให้แรงเพื่อไล่น้ำมันออกจากเนื้อไก่ก่อนตักขึ้นพักบนจานที่เตรียมไว้ เพื่อเตรียมนำไปผัด
1. ตั้งกระทะใช้ไฟกลาง จากนั้นใส่น้ำมันพืชลงไป (ไม่ต้องใส่มากเพราะน้ำพริกเผาและซอสที่ทำไว้มีน้ำมันอยู่แล้ว)
2. ใส่กระเทียมสับลงไปโดยไม่ต้องรอให้น้ำมันร้อนเพราะน้ำมันอาจจะไหม้ก่อน จากนั้นคนกระเทียมไปมาพอให้มีกลิ่นหอม
3. จากนั้นใส่ซอสที่ทำเตรียมไว้ลงไปคนไปมาสักครู่
4. ตามด้วยพริกไทยขาวป่นและคนไปมา
5. ตามด้วยเนื้อไก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกทอด ผัดทุกอย่างให้เข้ากันให้น้ำซอสเคลือบทุกอย่าง โดยขณะผัดให้ผัดเบา ๆ เพื่อไม่ให้อาหารเละ
6. จากนั้นใส่พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบลงไปและผัดไปมาสักครู่
7. ตามด้วยต้นหอมหั่นท่อนลงไป ผัดต่อให้ต้นหอมพอสลบ จากนั้นปิดไฟ
1. ตักไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ใส่จาน
2. หั่นต้นหอมเป็นแนวยาววางด้านบน
1. พริกแห้งแช่น้ำเนื้อค่อนข้างเหนียว การที่จะโขลกให้ละเอียดมาก ๆ นั้นต้องใช้เวลาโขลกนาน ดังนั้นควรโขลกพริกแห้งให้ละเอียดก่อนใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงโขลกตาม
2. การย่างกะปิสดก่อนนำไปปรุงอาหารจะช่วยลดกลิ่นคาวของกะปิได้
3. การใส่น้ำมันลงกระทะขณะที่กระทะเริ่มร้อนมาก อาจจะทำให้น้ำมันไหม้ก่อน
4. น้ำมันงามีความอ่อนไหวเรื่องของกลิ่นมาก ถ้าใส่ขณะปรุงอาหารอาจจะทำให้กลิ่นน้ำมันงาจางหายก่อนรับประทาน
5. หนึ่งวิธีที่จะช่วยไล่น้ำมันออกจากอาหารขณะทอดคือ การเร่งไฟให้ร้อนแล้วปิดทันทีก่อนที่จะตักอาหารขึ้นพัก
1. กระเทียมจีน (กระเทียมหัวใหญ่) มีกลิ่นฉุนน้อยและรสชาติเผ็ดน้อย เหมาะกับอาหารตะวันตก เช่น ซุป ซอส เป็นต้น
2. กระเทียมไทย (กระเทียมกลีบเล็ก) มีกลิ่นฉุนแม้จะทำให้สุกแล้วก็ยังมีกลิ่นฉุนและเผ็ด เหมาะกับอาหารที่ต้องการรสจัด
3. เกลือมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ และมีความหยาบอยู่จึงมีส่วนช่วยในการบด ดังนั้นการใส่เกลือก่อนจึงจะทำให้พริกแห้งบดละเอียดได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเกลือจะช่วยทดแทนโซเดียมที่อยู่ในผักที่หลุดออกไปในขณะที่ปรุงอาหารจึงทำให้ผักมีสีสด นอกจากสีจะสดและสวยแล้ว ยังคงคุณค่าวิตามินที่อยู่ในผักไว้ได้อีกด้วย
4. การใช้ครกตำหรือโขลกอาหารนั้นควรโขลกเฉียงไปข้าง ๆ ครก เพราะถ้าโขลกลงตรง ๆ นอกจากอาหารจะไม่ละเอียดแล้วครกยังสึกหรออีกด้วย
5. การชิมอาหารควรชิมขณะที่อาหารไม่ร้อนจัดจะได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่แท้จริง เพราะความร้อนจะกลบรสชาติอาหาร
6. น้ำมะขามเปียกมีความหวานภายในตัว ขณะปรุงอาหารควรชิมรสก่อนปรุงน้ำตาล
|