<< Go Back

     คั่วแฮ่มไก่ หรือ คั่วแห้มไก่ หรือ คั่วแห้งไก่ สุดแล้วแต่จะเรียก คืออาหารล้านนาเลิศรสอีกหนึ่งเมนูที่ให้คุณประโยชน์มากมาย จากผักพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบโกศลและใบเล็บครุฑ คำว่า "คั่วแฮ่ม" คือ ภาษาเหนือ ที่แปลว่า "การคั่วแห้งที่พอจะมีน้ำขลุกขลิก" พอที่จะเอาข้าวเหนียวจิ้มลงไปได้นั่นเอง

 

1. เตาไฟฟ้า 2. กระทะ
   
3. ตะหลิว 4. มีด
   
5. เขียง 6. ที่คีบอาหาร
   
7. ครก 8. ช้อน
   
9. หม้อหุงข้าว 10. กระดาษฟอยล์
   
11. เครื่องดูดควัน 12. ถ้วย
   
13. จานเสิร์ฟ 14. พิมพ์
   
 
15. กะละมัง  

 

1. ไก่บ้าน 1 ตัว 2. ผิวมะกรูด ½ ถ้วย
   
3. ข่า ½ ถ้วย 4. ตะไคร้ ½ ถ้วย
   
5. กระเทียม 2/3 ถ้วย 6. หอมแดง 2/3 ถ้วย
   
7. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ 8. พริกขี้หนูแห้ง 15 - 20 เม็ด
   
9. น้ำตาลมะพร้าว 2/3 ถ้วย 10. น้ำปลา ½ ถ้วย
   
11. น้ำเปล่า 500 ml 12. ใบมะกรูด ½ ถ้วย
   
13. ใบยี่หร่าสด 2 - 3 ถ้วย 14. ข้าวสารหอมมะลิ 2 ถ้วย
   
15. น้ำดอกอัญชัน 500 - 700 ml 16. มะนาว 1 ซีก
   
17. เกลือเล็กน้อย 18. ดอกอัญชัน
   
19. ดอกไม้ทานได้ 20. น้ำมันพืช

 

การเตรียมข้าวสวย

     1. บีบมะนาว 1 ซีกใส่ในน้ำอัญชัน 500 มิลลิลิตร

 

     2. ใช้ช้อนคนให้น้ำอัญชันและน้ำมะนาวเป็นเนื้อเดียวกัน

 

    3. ตวงข้าวสาร 3 กระป๋องใส่ในหม้อหุงข้าว

 

     4. นำข้าวสารไปซาวน้ำ 1 ครั้ง แล้วรินน้ำออก

 

     5. เทน้ำอัญชันลงไปในข้าวสาร

 

     6. หากชอบทานข้าวที่นิ่มกว่าปกติ ให้เทน้ำเพิ่มลงไปอีกเล็กน้อย จากนั้นนำข้าวไปหุงให้สุก

 

การเตรียมพริกแกง

    1. หั่นข่าอ่อนเป็นแว่นประมาณ 8 แว่น

 

     2. ซอยข่าให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ตำง่ายขึ้น

 

     3. หั่นผิวมะกรูด 1 ลูก โดยอย่าให้ติดเนื้อสีขาว

 

     4. ปอกกระเทียมไทย 2/3 ถ้วย

 

     5. ปอกหอมแดง 2/3 ถ้วย

 

     6. นำพริกแห้งไปแช่น้ำ

 

     7. ลอกเปลือกด้านนอกของตะไคร้ออก จากนั้นซอยตะไคร้เป็นชิ้นบางๆ

 

     8. นำพริกแห้งขึ้นจากน้ำ จากนั้นซอยพริกให้เป็นชิ้นเล็กๆ

 

     9. ใส่ตะไคร้และเกลือเล็กน้อยลงไปในครก จากนั้นตำให้แหลก

 

     10. ใส่ข่าลงไปในครก

 

     11. ใส่ผิวมะกรูดลงไปในครก จากนั้นตำให้ละเอียด

 

     12. ใส่พริกลงไป ตำให้ละเอียด

 

    13. ใส่กระเทียมและหอมแดงลงไป ตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน

 

     14. ตักกะปิ 1 ช้อนโต๊ะวางไว้บนกระดาษฟอยล์ ห่อให้มิดชิด

 

     15. ตั้งกระทะให้ร้อน จากนั้นนำกะปิไปวางในกระทะจนมีกลิ่นหอม

 

     16. คีบกะปิออกจากกระทะ นำมาใส่ในครก จากนั้นตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน

 

การเตรียมเนื้อไก่บ้าน

     1. หั่นเนื้อไก่บ้านให้มีขนาดพอดีคำ

 

     2. หั่นเครื่องใน โดยแล่เอาส่วนไขมันทิ้งไป

 

     1. ตั้งกระทะบนเตาไฟฟ้าโดยใช้ไฟกลาง ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย

 

     2. เมื่อน้ำมันเริ่มร้อน ใส่พริกแกงลงไปผัดในกระทะ 2 - 3 นาทีให้มีกลิ่นหอม

 

     3. ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดกับเครื่องแกง

 

     4. เติมน้ำลงไปแค่พอขลุกขลิก จากนั้นผัดให้ไก่สุก โดยปรับไฟให้แรงขึ้น

 

     5. เมื่อไก่เริ่มสุก เติมน้ำลงไป 500 มิลลิลิตร ตั้งไว้จนน้ำเริ่มงวดโดยใช้ไฟกลาง

 

     6. ระหว่างรอไก่สุก ให้เด็ดใบยี่หร่าใส่ในน้ำสะอาด พักไว้ก่อน

 

     7. ฉีกใบมะกรูดแค่พอหยาบ แช่ในน้ำสะอาด พักไว้ก่อน

 

     8. เมื่อน้ำเริ่มงวด ให้ปรุงรสด้วยน้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

 

     9. ใส่น้ำมันมะพร้าว 1 ½ ช้อนโต๊ะ ใช้ทัพพีบี้ให้น้ำตาลละลาย

 

     10. เมื่อน้ำแกงงวดได้ที่แล้ว ให้ปิดเตา จากนั้นฉีกใบยี่หร่าลงไป

 

     11. ฉีกใบมะกรูดลงไป จากนั้นผัดต่ออีกเล็กน้อย

 

     1. นำพิมพ์มาวางบนจานเสิร์ฟ

 

     2. ตักข้าวสวยใส่ในพิมพ์ โดยใช้ช้อนกดลงไปให้แน่น

 

     3. ค่อยๆ ยกพิมพ์ออก โดยใช้ช้อนกดข้าวสวยเอาไว้

 

     4. ตักแกงคั่วแห้งไก่บ้านใบยี่หร่าใส่ไว้ด้านข้างข้าวสวย

 

     5. ตกแต่งด้วยใบยี่หร่า

 

     6. เพิ่มสีสันด้วยดอกอัญชันและดอกไม้ทานได้ที่มีสีสันสวยงาม

 

     1. การตำเครื่องแกง ให้ใส่หอมแดงเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา โดยจะต้องเริ่มตำจากสิ่งที่แข็งที่สุด ซึ่งอาจใส่เกลือลงไปด้วย เพื่อให้ตำง่ายขึ้น

 

     2. อาหารไทยควรใช้กระเทียมไทย เพราะมีกลิ่นหอมกว่ากระเทียมจีน และควรปอกให้เหลือเปลือกชั้นในสุดไว้ เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นที่หอมมากขึ้น

 

     ต้นยี่หร่า เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
สรรพคุณของยี่หร่า
     1. สามารถช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ (ใบ)
     2. ช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
     3. ใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและธาตุแคลเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย (ใบ)
     4. ใบยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่มจนกว่าจะหาย (ใบ)
     5. ช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร (ใบ)
     6. ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร (ต้น, รากแห้ง)
     7. ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย (ใบ)
     8. ต้นยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
     9. ช่วยในการขับลมในลำไส้ (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
     10. น้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่ามีฤทธิ์ช่วยระงับอาการหดเกร็งของไส้ (น้ำมันหอมระเหย)
     11. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย
     12. ยี่หร่ายังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรีได้ (ใบ)

     ปริมาณของวัตถุดิบที่เชฟกำหนดเป็นเพียงสัดส่วนโดยประมาณ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบของแต่ละบุคคล โดยในที่นี้เชฟได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนของวัตถุดิบ ดังนี้
      1. ไก่บ้าน 1 ตัว
      2. ผิวมะกรูด 1 ลูก
      3. ข่า 10 แว่น
      4. ตะไคร้ 3 ต้น
      5. กระเทียม 2/3 ถ้วย
      6. หอมแดง 2/3 ถ้วย
      7. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
      8. พริกขี้หนูแห้ง 20 เม็ด
      9. น้ำตาลมะพร้าว 1 ½ ช้อนโต๊ะ
      10. น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
      11. น้ำเปล่า 500 ml
      12. ใบมะกรูด 5 ใบ
      13. ใบยี่หร่าสด 1 กำ
      14. ข้าวสารหอมมะลิ 3 ถ้วย
      15. น้ำดอกอัญชัน 500 ml
      16. มะนาว 1 ซีก
      17. เกลือเล็กน้อย
      18. ดอกอัญชัน
      19. ดอกไม้ทานได้
      20. น้ำมันพืชเล็กน้อย



<< Go Back