พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิทได้เข้าฝึกหัดการทําอาหารในสํานักของพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ จนทรงเชี่ยวชาญในด้านการทําอาหาร และทรงเป็นต้นเครื่องให้กับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ มีหน้าที่ทําเครื่องต้นถวายรัชกาลที่ 5 ได้เป็นผู้ทําเครื่องถวายพระวิมาดาเธอเมื่อทรงพระประชวร และยังทรงเป็นธุระในการจัดทําเครื่องเสวยถวายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตํารับสายเยาวภาเป็นการรวบรวมตํารับอาหารส่วนพระองค์ ของพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท โดยมีการเพิ่มความรู้การครัวสมัยใหม่ วิธีทําอาหาร และสูตรอาหารจากบรรดาพระประยูรญาติในราชสกุลสนิทวงศ์ ตลอดจนข้าหลวงและคณะครูโรงเรียนสายปัญญา เรียกชื่อว่า "ตํารับสายเยาวภา" บอกวิธีปรุงอาหารคาวหวาน ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2478 โดยสายปัญญาสมาคม เพื่อเป็นหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท เนื้อหาของตํารับสายเยาวภาอาจแบ่งออกเป็น 1. ตํารับอาหารของพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ตํารับสายเยาวภาฉบับที่มีการเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน คือ ปี พ.ศ. 2514 ได้ปรากฏอาหารที่เป็นตำรับส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ซึ่งมีอิทธิพลของอาหารฝรั่งและจีนอยู่หลายตํารับ ที่ท่านได้ดัดแปลงผสมผสานให้เป็นไทย เช่น ซุปผักโหม 2. ตํารับอาหารในสายราชสกุลสนิทวงศ์และผู้ใกล้ชิด รวบรวมตํารับอาหารดั้งเดิมที่เป็นของราชสกุลสนิทวงศ์ เครือญาติ และผู้ใกล้ชิดเข้ามาไว้ด้วย เหตุที่ราชสกุลสนิทวงศ์เป็นสายสกุลที่สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 อันเป็นสมัยที่ราชสํานักมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปรุงอาหาร โดยเฉพาะบทบาทความเป็นต้นตํารับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ตํารับสายเยาวภาในส่วนที่เป็นของสมาชิกในราชสกุลสนิทวงศ์นั้น มีทั้งที่เป็นตํารับของเจ้านายและราชสกุลฝ่ายชาย เช่น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์สุวพรรณสนิทวงศ์ ในขณะที่ตํารับอาหารส่วนใหญ่เป็นตํารับที่ตกทอดมายังสายของสะใภ้ในราชสกุล ขอบคุณเนื้อหาเพิ่มเติม |