หมอบรัดเลย์ หรือ Dan Beach Bradley หรือที่คนไทยเรียกว่า “ปลัดเล” เป็นทั้งนายแพทย์และมิชชันนารีชาวอเมริกัน ที่เข้ามาทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 ท่านเกิดที่เมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) ในมลรัฐนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 และมาสิ้นชีวิตในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2416 มีเหตุผล 2 ประการที่ทำพจนานุกรมเล่มนี้ขึ้น ข้อแรกคือ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิชชันนารีที่ต้องการเรียนรู้ภาษาไทย ส่วนข้อสองก็คือ เพื่อวางมาตรฐานการใช้ภาษาไทยให้แก่คนไทย โดยท่านเห็นว่า พจนานุกรมที่มีศัพท์หลักเป็นภาษาไทย และมีบทนิยามศัพท์เป็นภาษาไทยดีกว่าพจนานุกรมไทยที่มีบทนิยามเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นถึงแม้จะมีหนังสือไวยากรณ์ไทยอยู่แล้ว แต่กลับปรากฏว่าไร้ประโยชน์ เพราะแต่ละฉบับข้อความไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันเอง ครูภาษาไทยจึงเกิดความสับสนว่าอะไรผิดอะไรถูก หมอบรัดเลย์มิได้ทำพจนานุกรมฉบับนี้เพียงคนเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ทัด ซึ่งน่าจะเป็นครูสอนภาษาไทยของหมอบรัดเลย์เอง นอกจากอาจารย์ทัดแล้วก็ยังมีคนไทยอีกคนหนึ่งคือ นายเมือง ช่วยทำด้วย โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้เริ่มต้นพิมพ์พจนานุกรมฉบับนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2404 จนถึง พ.ศ.2416 รวมเวลาทั้งสิ้น 12 ปี ในปีเดียวกันนั้นเองหมอบรัดเลย์ก็ได้สิ้นชีวิตลงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน Dan F. Bradley บุตรชายของท่านจึงได้ช่วยดำเนินงานต่อ พจนานุกรมเล่มนี้มีหนา 828 หน้า แต่ละหน้ามีศัพท์หลักประมาณ 31-39 คำ การเรียงลำดับศัพท์ใช้เกณฑ์ลำดับตัวอักษรไทย ก-ฮ จากนั้นจึงเป็น ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ในแต่ละหมวดอักษร เรียงศัพท์ตามลำดับสระและพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ตามแบบหนังสือ ประถม ก กา ขอบคุณเนื้อหาเพิ่มเติม |