ยากิโซบะ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ตอนแรกชาวญี่ปุ่นบอกว่า มันไม่ใช่อาหารญี่ปุ่น เพราะว่าตัวเส้นนั้นเป็นเส้นบะหมี่ที่ได้มาจากจีน ส่วนซอสที่ผัดเป็นซอสวูสเตอร์ ที่ได้จากตะวันตกจากประเทศอังกฤษ (เกิดที่เมืองวุร์สเตอร์) ด้วยจากการค้าหรือเหตุผลกลใดก็ตาม ซอสวูสเตอร์มันเข้ามาสู่ญี่ปุ่นในปี 18XX และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จนกระทั่งปี 1887 ก็มีซอสนี้ผลิตที่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก (ปกตินำเข้า) หลังจากนั้นอีก 10 ปี บริษัทต่าง ๆ ก็ผลิตซอสชนิดนี้กันอย่างหลากหลาย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถ้าเรียกคำว่า “ซอส” ในญี่ปุ่น จะหมายถึงซอสตัวนี้นั่นเอง ในขณะที่ซอสอื่น ๆ มีชื่อเรียกของมัน เช่น โซยุ ซอยซอส ฯลฯ แต่ถ้าใช้คำว่า “ซอส” คำเดียวที่ญี่ปุ่นจะหมายถึงซอสตัวนี้ ซึ่งซอสตัวนี้จะใส่กับอาหารญี่ปุ่นหลาย ๆ ตัว เช่น โอโคโนมิยากิ หรือโครอกเกะ หรือทงคัสซึ ฯลฯ รวมไปถึงยากิโซบะด้วย
การเตรียมขิงดอง 1. ใส่น้ำตาลทรายลงไปในหม้อ 2 ช้อนโต๊ะ
2. ใส่เกลือลงไปในหม้อ 1 ช้อนชา
3. ใส่น้ำส้มสายชูหมักลงไปในหม้อ 90 กรัม
4. นำหม้อขึ้นตั้งไฟโดยใช้ไฟอ่อน เคี่ยวแค่พอให้น้ำตาลละลาย จากนั้นพักไว้ให้หายร้อน
5. ปอกเปลือกและซอยขิงเป็นเส้นใส่ในกระชอน จากนั้นนำไปล้างน้ำ
6. นำขิงมาซับน้ำให้แห้ง
7. เทน้ำดองใส่ในขิง จากนั้นคนให้ขิงจมลงไปในน้ำดอง
8. ปิดชามผสมด้วยฟิล์มถนอมอาหาร
การเตรียมผัก 1. ปอกเปลือกหัวหอมใหญ่ จากนั้นหั่นสไลด์บาง ๆ ตามแนวยาว
2. หั่นกะหล่ำปลีเป็นชิ้นพอดีคำ
3. ซอยต้นหอมเป็นท่อน ๆ
4. ปอกเปลือกแครอทครึ่งหัว จากนั้นหั่นให้เป็นแท่ง
5. ผ่าครึ่งลำต้นกระเทียมญี่ปุ่น และหั่นเป็นท่อน ๆ
6. ตัดก้านเห็ดทิ้ง จากนั้นหั่นเป็นชิ้น ๆ
7. นำกะหล่ำปลีที่หั่นเสร็จแล้วไปล้างน้ำให้สะอาด
ขั้นตอนการทำซอส 1. ใส่น้ำตาลทรายในหม้อ 2 ช้อนโต๊ะ
2. ใส่ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
3. ใส่วูสเตอร์ซอส 4 ช้อนโต๊ะ
4. ใส่น้ำมันหอย 4 ช้อนโต๊ะ
5. ใส่ซอสมะเขือเทศ 4 ช้อนโต๊ะ
6. นำหม้อซอสขึ้นตั้งไฟโดยใช้ไฟอ่อน ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมละลาย
7. ใส่พริกไทยดำป่นลงไปเล็กน้อย คนและเคี่ยวแค่พอเดือด
8. ระหว่างรอซอสเดือด เติมน้ำใส่หม้อใบใหญ่นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด
9. หั่นหมูสามชั้นสไลด์เป็นชิ้นพอดีคำ พักไว้ในจาน
10. ขยำเส้นยากิโซบะใส่ไว้ในกระชอน (ใช้สำหรับลวก 4 ซอง ซองละ 150 กรัม)
11. นำกระชอนไปจุ่มในน้ำและยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เพื่อเอาแป้งออกจากเส้นยากิโซบะ พักไว้ในชามผสม
12. นำเส้นยากิโซบะไปลวกในน้ำเดือด โดยใส่เส้นลงไปลวกในกระชอนทีละน้อยประมาณ 1 นาที
13. เขย่ากระชอนเพื่อให้เส้นยากิโซบะสะเด็ดน้ำ นำไปใส่ในชามผสมอีกใบ
14. ใส่น้ำมันสำหรับทอดลงไปในหม้อนำขึ้นตั้งไฟให้ร้อน เมื่อน้ำมันเริ่มร้อนให้เปลี่ยนเป็นไฟกลาง
15. คลี่เส้นยากิโซบะที่เหลืออีก 1 ซองให้เส้นแยกออกจากกัน (ใช้สำหรับทอด 1 ซอง 150 กรัม)
16. ทอดเส้นยากิโซบะจนเหลืองกรอบ คีบใส่ไว้ในกระชอนเพื่อให้สะเด็ดน้ำมัน
17. คีบยากิโซบะทอดกรอบไปวางบนกระดาษซับน้ำมัน พักเอาไว้ก่อน
18. ตั้งกระทะบนเตาให้ร้อน ตักน้ำมันที่ทอดเส้นยากิโซบะลงไปในกระทะ
19. ใส่หมูสามชั้นลงไปในกระทะ
20. ใส่หอมใหญ่ลงไปผัดกับหมูสามชั้น
21. เมื่อหมูเริ่มสุก ใส่กะหล่ำปลีลงไปผัด
22. ใส่แครอทลงไปในกระทะ ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
23. เมื่อแครอทและกะหล่ำปลีเริ่มสุก ใส่เห็ดลงไปผัด
24. ใส่กระเทียมญี่ปุ่นลงไปผัดแค่พอสุก
25. แบ่งผัดผัก 1 ใน 3 ส่วนลงไปผัดต่อในกระทะอีกใบ
26. คีบเส้นยากิโซบะ 1 ใน 3 ส่วนลงไปผัดกับผัก
27. ใส่ยากิโซบะซอส 2 ช้อนโต๊ะ ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
28. ใส่พริกไทยดำป่นเล็กน้อย
29. โรยต้นหอมซอยลงไปผัด คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นปิดเตา
1. คีบเส้นยากิโซบะใส่ในจานเสิร์ฟ
2. คีบผักใส่ไว้ด้านบนเส้น
3. หักเส้นยากิโซบะทอดกรอบไว้ข้างจานเสิร์ฟ
4. ตักซอสราดบนยากิโซบะเล็กน้อย
5. โรยหน้าด้วยพริกไทยดำป่น
6. คีบเส้นสาหร่ายแห้งวางไว้ด้านบน
7. คีบปลาโอแห้งวางไว้ด้านบนเส้นสาหร่ายแห้ง
8. คีบขิงดองวางไว้ข้างยากิโซบะ
9. ตกแต่งสีสันด้วยแผ่นทองคำเปลว
1. แนะนำให้ใช้เนื้อหมูสามชั้นในการผัดยากิโซบะ เพราะจะช่วยให้เนื้อสัมผัสมีความนุ่มมากกว่าเนื้อหมูแบบอื่น
2. ลวกเส้นยากิโซบะแค่ประมาณ 1 นาที อย่าให้สุกเกินไป เพราะตอนผัดจะทำให้เส้นเละ
ยากิโซบะ (Yakisoba) คือ บะหมี่แห้งผัดซอสรสหวานเค็ม เส้นเป็นบะหมี่สีเหลืองเส้นใหญ่ ใส่เนื้อหมู ไก่หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ และผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี แครอท หัวหอม ถั่วงอก เป็นต้น นิยมโรยสาหร่ายและขิงดอง ยากิโซบะถือเป็นหนึ่งในอาหารประจำร้านแผงลอยตามเทศกาลต่าง ๆ แม้จะชื่อยากิโซบะ แต่เส้นที่ใช้เป็นเส้นราเมง โซบะในที่นี้มีชื่อเต็มว่า จูกะโซบะ (Chuka soba) ซึ่งแปลว่า โซบะแบบจีน หน้าตาและสัมผัสคล้ายราเมงของญี่ปุ่น เดิมทีแล้วโซบะจะทำจากแป้งบัควีต ต่อมามีการรับเส้นจากจีนที่ทำจากแป้งสาลีเข้ามาใช้ในเมนูเส้นหลายชนิด เมื่อเวลาผ่านไปจากจูกะโซบะก็เหลือเพียงโซบะ
ปริมาณของวัตถุดิบที่เชฟกำหนดเป็นเพียงสัดส่วนโดยประมาณ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบของแต่ละบุคคล โดยในที่นี้เชฟได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนของวัตถุดิบ ดังนี้ |