ซุปมิโซะหรือมิโซะชิรุ (Misoshiru) คือ น้ำซุปดาชิที่ปรุงรสด้วยมิโซะหรือเต้าเจี้ยว จึงเรียกอีกชื่อว่า ซุปเต้าเจี้ยว เครื่องที่มักใส่ในซุปมิโซะคือสาหร่าย เต้าหู้ และต้นหอม แต่นอกจากนี้จะใส่เนื้อสัตว์หรือผักอื่นๆ ก็ได้ นับเป็นเมนูที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหารญี่ปุ่น รสชาติของซุปมิโซะจะขึ้นอยู่กับชนิดของมิโซะที่นำมาทำ เช่น มิโซะขาว มิโซะแดง มิโซะข้าว มิโซะถั่ว เป็นต้น
การจัดเตรียมสาหร่ายคอมบุและผัก 1. เช็ดสาหร่ายคอมบุด้วยกระดาษอเนกประสงค์ชุบน้ำหมาด ๆ
2. เติมน้ำเปล่า 1.5 ลิตรลงในหม้อใบใหญ่
3. ใส่สาหร่ายคอมบุลงไปในหม้อ ปิดฝาหม้อและแช่ทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
4. ซอยต้นหอมเป็นชิ้นเล็ก ๆ
5. หั่นเห็ดเข็มทองออกเป็น 2 ท่อน
การจัดเตรียมหอยตลับ 1. ตั้งกระทะบนเตาไฟฟ้า จากนั้นใส่น้ำมันพืชลงไปเล็กน้อย
2. ใส่ต้นหอมซอยบางส่วนลงไปผัดในกระทะ โดยเน้นส่วนสีขาวมากกว่าสีเขียว
3. ใส่เห็ดเข็มทองลงไปผัดกับต้นหอมซอย
4. ใส่หอยตลับลงไปผัดในกระทะ
5. เติมน้ำซุปไก่ลงไป 5 ช้อนโต๊ะ
6. ใส่มิโซะลงไป 1/2 ช้อนโต๊ะ ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน
7. เมื่อฝาหอยตลับเปิดออกจนหมด ให้ยกออกจากเตาและตักใส่ชามผสมพักไว้ก่อน
ขั้นตอนการทำน้ำดาชิ 1. นำหม้อสาหร่ายคอมบุขึ้นตั้งไฟโดยใช้ไฟแรง
2. เมื่อเริ่มมีฟองอากาศปุดขึ้นมาจากก้นหม้อ ให้คีบสาหร่ายคอมบุออก
3. เมื่อน้ำในหม้อเดือด ให้ใส่ปลาแห้งคัตสึโอะ 40 กรัมลงไปในหม้อ จากนั้นปิดเตาทันทีและปิดฝาหม้อแช่ทิ้งไว้
ขั้นตอนการทำเต้าหู้และเห็ดเทมปุระ 1. เทน้ำเย็นจัดใส่ในชามผสม
2. ตอกไข่ไก่ 1 ฟองลงไปในน้ำเย็นจัด
3. ใช้ตะเกียบตีไข่ไก่ให้เข้ากัน
4. ใส่แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง คนให้เข้ากันเล็กน้อย
5. เทน้ำมันพืชลงไปในหม้อก้นลึก นำขึ้นตั้งไฟ
6. หั่นเต้าหู้คินุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
7. เมื่อน้ำมันร้อนได้ที่แล้ว ให้เปลี่ยนมาใช้ไฟกลาง จากนั้นคลุกเต้าหู้ด้วยผงแป้งอเนกประสงค์
8. จากนั้นนำเต้าหู้ลงไปชุบในแป้งเทมปุระ
9. นำเต้าหู้เทมปุระลงไปทอดในหม้อทอดจนเหลืองสวย
10. ตักเต้าหู้เทมปุระใส่ในจานที่รองด้วยแผ่นกระดาษซับน้ำมัน
11. ชุบเห็ดเข็มทองลงในผงแป้งอเนกประสงค์และแป้งเทมปุระ และนำไปทอดในหม้อทอดจนเหลืองสวย
12. ตักเห็ดเข็มทองเทมปุระใส่ในจานที่รองด้วยแผ่นกระดาษซับน้ำมัน
ขั้นตอนการทำมิโซะซุป 1. หั่นครึ่งหัวไชเท้าญี่ปุ่น เอาเฉพาะส่วนปลายของหัวมาปอกเปลือกออก
2. หั่นหัวไชเท้าเป็นรูปทรงครึ่งวงกลมหรือสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
3. กรองน้ำดาชิ (น้ำซุปปลาแห้งคัตสึโอะ) ใส่ในหม้อใบใหญ่ โดยวางกระดาษอเนกประสงค์ไว้บนกระชอนอีกหนึ่งชั้น
4. ใส่หัวไชเท้าลงไปในน้ำซุปดาชิ นำไปตั้งบนเตาโดยใช้ไฟแรง
5. เมื่อน้ำซุปเริ่มร้อน ตักมิโซะ 2 ช้อนโต๊ะลงไปในน้ำซุป คนให้ละลาย
6. เติมน้ำตาลทรายลงไป ½ ช้อนโต๊ะ
7. เติมมิริน 2 ช้อนโต๊ะ
8. เมื่อหัวไชเท้าสุก ให้ใส่สาหร่ายวากาเมะลงไปประมาณ 2 กำมือ
9. เมื่อน้ำซุปเดือด ใส่สาเกลงไป 2 ช้อนโต๊ะ ปิดเตาและปิดฝาหม้อ
1. จัดวางหอยตลับ 3 ชิ้นลงไปในถ้วยเสิร์ฟ
2. วางเต้าหู้เทมปุระ 1 ชิ้นไว้บนหอยตลับ
3. วางเห็ดเข็มทองเทมปุระ 1 ชิ้นไว้ด้านข้างเต้าหู้เทมปุระ
4. โดยหน้าด้วยต้นหอมซอย
5. ตักหัวไชเท้า 3 ชิ้นใส่ลงไปในถ้วยเสิร์ฟ
6. คีบสาหร่ายวากาเมะ 2 - 3 เส้นใส่ในถ้วยเสิร์ฟ
7. ใช้ทัพพีคนน้ำซุป จากนั้นตักน้ำซุปมิโซะลงไปในถ้วยเสิร์ฟ
1. การผัดต้นหอมซอย จะใช้ส่วนที่เป็นสีขาวมากกว่าสีเขียว เพราะจะทำให้มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน
2. การต้มสาหร่ายคอมบุ จะต้มแค่พอให้มีฟองอากาศปุด ๆ ขึ้นมา อย่าให้เดือด เพราะสาหร่ายมีเมือกจะทำให้น้ำซุปข้น
3. การผสมแป้งเทมปุระ จะต้องนำไข่ไก่ตีในน้ำเย็นจัด ซึ่งจะทำให้เทมปุระมีความกรอบมากขึ้น
4. การละลายมิโซะในน้ำซุป ให้ใช้ทัพพีตักน้ำซุป จากนั้นตักมิโซะใส่ทัพพี และใช้ช้อนบี้ให้ละลาย
5. การตรวจสอบการสุกของหัวไชเท้า ให้ใช้มีดจิ้มหัวไชเท้าแล้วยกขึ้น หากหัวไชเท้าหลุดออกจากมีด แสดงว่าสุก
มิโซะเปี่ยมด้วยคุณค่า ให้พลังงานสูง ช่วยบำรุงสุขภาพ และความกระฉับกระเฉง เนื่องจากการหมักที่ก่อให้เกิดจุลินทรีย์แล็กติก มิโซะจึงเป็นมากกว่าแค่องค์ประกอบย่อยระหว่างขั้นตอนการหมักโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในข้าวและถั่วเหลือง จะแตกตัวจนกลายเป็นกรดอะมิโน กรดไขมัน และน้ำตาลที่ย่อยง่ายกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้ “ซุปมิโซะ” จึงเป็นอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี และผู้หญิงญี่ปุ่นยังใช้ซุปมิโซะเพื่อให้ทารกหย่านมด้วย ปัจจุบันจีนและญี่ปุ่นยังคงเชื่อว่า การดื่มซุปมิโซะทุกวัน จะช่วยให้ชีวิตยืนยาวและแข็งแรง ว่ากันว่าการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยซุปมิโซะ จะปรับสภาพความเป็นด่างของร่างกาย และช่วยลดการสะสมของกรดที่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์ น้ำตาล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะเลือดเป็นด่างยังช่วยถนอมสุขภาพด้วย “มิโซะ” เป็นเหมือนยาลดกรดแบบดั้งเดิม เพื่อบรรเทาอาการแบบฉับพลัน และเมื่อจุลินทรีย์ที่พบมากในมิโซะชนิดหวาน สีอ่อน ซึ่งไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ (ส่วนใหญ่จะหมักเป็นเวลา 2-8 สัปดาห์) เข้าไปอยู่ในลำไส้ จุลินทรีย์ที่ชอบกรดเหล่านั้นจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรง
ปริมาณของวัตถุดิบที่เชฟกำหนดเป็นเพียงสัดส่วนโดยประมาณ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบของแต่ละบุคคล โดยในที่นี้เชฟได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนของวัตถุดิบ ดังนี้ |