<< Go Back

    อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีไว้สำหรับทุกๆ ครัวเรือน เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้มีความทันสมัยมากมายที่จะช่วยผ่อนแรงให้ผู้ประกอบอาหารได้ เช่น กระทะไฟฟ้า เครื่องปั่น เครื่องคั้นน้ำผลไม้ไฟฟ้า ซึ่งอาจจะมีตั้งแต่ราคาถูกถึงราคาแพง เราจึงต้องศึกษาวิธีใช้และวิธีการเก็บรักษาเพื่อให้ออุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ มีอายุการใช้งานได้นาน

    1. หลักการเลือกอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
    อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหารทำมาจากวัสดุหลายชนิด ซึ่งจะมีราคาและความทนทานในการใช้งานแตกต่างกัน ในการเลือกซื้อนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบก่อน เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และยาวนาน  สรุปได้ดังนี้
        - เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
        - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้อยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยบุบ
        - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สะดวกต่อการใช้งาน
        - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้สามารถดูแลและรักษาความสะอาดได้ง่าย
        - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประหยัดเวลาในการประกอบอาหาร เช่น ร้อนเร็ว สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เป็นต้น

    2. ความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
    ในการเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ผู้ใช้ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น เพราะถ้าประมาทอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ผู้ใช้คสรระมัดระวังตลอดระยะเวลาที่ใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ โดยยึดหลักการดังนี้

        - เมื่อเลือกใช้งานของมีคม ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของงานและมีความระมัดระวัง เช่น มีด ซึ่งมีดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือด้ามมีด (Handle) และใบมีด (Blade)

องค์ประกอบของมีด
ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

   ประเภทของมีด

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      1. มีดเชฟ (มีดหั่น) Chef’s Knife / Gyuto Knife เป็นมีดที่ใช้กับงานหั่นทุกประเภท ส่วนใหญ่มีดเชฟจะมีความยาวประมาณ 8 – 14 นิ้ว

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      2. มีดปอก Paring Knife เป็นมีดขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 2-4 นิ้ว เหมาะสำหรับการปอกผักและผลไม้ หรือวัตถุดิบที่มีขนาดเล็ก

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      3. มีดหั่นขนมปัง Bread Knife มีลักษณะฟันเป็นหยักๆ เหมาะสำหรับการหั่นขนมปัง ขนมเค้ก

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      4. มีดเลาะกระดูกมีหน้าที่เลาะเนื้อบริเวณกระดูก ลักษณะค่อนข้างผอม และโค้ง ความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว สามารถใช้สำหรับการแล่ปลาเช่นกัน

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      5. มีดสับ มีดอีโต้ ปังตอ Cleaver มีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการสับกระดูหหมู กระดูกไก่

ที่มา : https://www.wongnai.com/food-tips/knifes-anatomy

      การเลือกซื้อมีด ควรเลือกมีดที่ทำจากเหล็กกล้า และควรลับมีดเป็นประจำ เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน

      วิธีการใช้มีดเพื่อความปลอดภัย

      1. ใช้มือข้างที่ถนัดในการจับมีด

ที่มา https://buildsweethome.blogspot.com/2015/02/how-to-use-knife-without-cut-yourself.html

      2. งอนิ้วเข้า เพื่อป้องกันให้มีดมาโดนนิ้ว

ที่มา https://buildsweethome.blogspot.com/2015/02/how-to-use-knife-without-cut-yourself.html

      3. ไม่ควรยกมีดสูงเกินไป

ที่มา https://buildsweethome.blogspot.com/2015/02/how-to-use-knife-without-cut-yourself.html

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า จำเป็นต้องศึกษาวิธีการใช้งานให้เข้าใจก่อนที่จะนำมาใช้ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เมื่อใช้งานเรียบร้อยแล้วก่อนจะถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือทำความสะอาดควรถอดปลั๊กไฟก่อนทุกครั้ง
      - เมื่อยกหม้อหรือกระทะลงจากเตาไฟไม่ควรใช้มือเปล่า ควรใช้ผ้าที่มีความหนาเหมาะสมเพื่อไม่ความร้อนโดนมือของเรา
      - อย่าหยิบอาหารด้วยมือใส่ภาชนะที่ตั้งไฟในระยะสูงเพราะอาจทำให้น้ำมันหรือนำกระเด็นลวกมือได้

      คู่มือการใช้เตาไฟฟ้า

      ขั้นตอนการเปิดเตาไฟฟ้า

      คู่มือการใช้เตาอบ
      ก่อนเริ่มใช้งานเตาอบ
            1. แกะบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆที่ห่อหุ้มออก แล้วทำความสะอาดภายในเตาอบ
            2. ล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนต่าง ๆ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นผสมน้ำยาล้างจานบิดให้หมาดแล้วเช็ดเตาอบ
            3. เปิดพัดลมระบายอากาศหรือหน้าต่างในห้อง
            4. เปิดเตาอบให้ร้อนขึ้น จนถึงอุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 นาที จากนั้นให้เช็ดคราบสกปรกออก

      การตั้งเวลาเตาอบให้เป็นปัจจุบัน

      กดปุ่มตั้งเวลาค้างไว้ 2-3วินาที แล้วหมุดปุ่มเพิ่มลดเพื่อเปลี่ยนเวลา

      ** ค่าต่าง ๆที่แสดงในตารางเป็นค่าประมาณการเท่านั้น สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้

      ** ในการเลือกฟังก์ชันของเตาอบตัวเครื่องจะเซตเวลาและอุณหภูมิให้อัตโนมัติ ถ้าต้องการปรับเวลาและอุณหภูมิ ให้กดปุ่มเวลาและอุณหภูมิที่จอแสดงโปรแกรมการทำงาน **

      3. หลักการดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
      อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหารมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานได้นาน ควรทำความสะอาดและดูแลรักษาหลักการใช้งานทุกครั้ง ดังนี้

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทสแตนเลส ควรรระวังอย่าให้โดนความร้อนสูงมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดสีดำ หรือสีน้ำตาล แต่สามารถทำความสำอาดได้โดยการนำผงซักฟอกละลายน้ำ และเติมน้ำส้มสายชูลงไปใช้ฟองน้ำชุปน้ำที่ผสมไว้แล้วนำมาขัดที่อุปกรณ์ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วควรเช็ดให้แห้ง

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทเหล็ก ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดแล้วล้างน้ำและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม
      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากอลูมิเนียม ไม่ควรให้มีเศษอาหารตกค้าติดที่ภาชนะแพราะกรดและด่างในอาหารจะทำให้ภาชนะกร่อน เป็นรู

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทเครื่องเคลือบ ต้องระมัดระวังไม่ให้ตกกระแทกเพราะจะทำให้กะเทาะและส่วนที่กะเทาะอาจเกิดสนิมได้

ที่มา : https://mgronline.com/smes/detail/9540000061744

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทแก้ว เครื่องแก้ค่อนข้างแตกหักง่ายเพราะฉะนั้นควรระมัดระวังไม่ให้ตกหรือกระแทก

ที่มา : shorturl.asia/nSl3r

      - อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากพลาสติก ไม่ควรใส่ของร้อนเพราะสีของพลาสติกมีความผสมของสารเคมีซึ่งอาจละลายเจือปนในอาหาร หรืออาจจะเบี้ยวผิดรูปได้

ที่มา : baanlaesuan.com/145468/diy/easy-tips/care-of-equipment-and-utensils

      - เตาอบ ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยควรเช็ดให้แห้งสนิท

 



 

<< Go Back