<< Go Back

โครงการอวกาศชุดแรกที่สหภาพโซเวียต ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2502-2519 โดยประสบความสำเร็จสามารถถ่ายภาพด้านไกลของดวงจันทร์ สามารถลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้เมื่อปี 2509 นำตัวอย่างดินจากดวงจันทร์ประมาณ 100 กรัมกลับมายังโลกได้ในปี 2513, 2515 และ 2519 และมีรถสำรวจไปแล่นบนดวงจันทร์ในปี 2513 และ 2516 โดยยานลูนอคฮูด 1 และ 2
กความสำเร็จของสหภาพโซเวียตในการพิชิตอวกาศนำหน้าสหรัฐอเมริกา ทำให้น่าซ่าต้องทุ่มเททั้งกำลังคน กำลังเงินและทรัพยากร ส่งคนอเมริกันไปดวงจันทร์ให้ได้ เพื่อศักดิ์ศรีของศึกพิชิตอวกาศ
กต่อมาในปี พ.ศ.2504 ประธานาธิบดีจอห์นเอฟ เคนเนดี้ (John F. Kennedy ) ประกาศต่อสาธารนะชนว่าสหรัฐอเมริกา จะต้องส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ให้ได้ก่อนปี พ.ศ.2513 โครงการอวกาศของนาซ่าจึงเกิดขึ้นอย่างเข้มข้น

เป็นทางฟากฝั่งสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2504-2508 เป้าหมายของโครงการถูก ออกแบบให้ยานไปพุ่งชนดวงจันทร์และทำการส่งภาพมายังโลกตั้งเเต่ก่อนพุงชน และขณะที่อยู่ห่างดวงจันทร์ตั้งแต่ระดับหนึ่งพันกว่าไมล์ และสุดท้ายเมื่อยานเข้าประชิดดวงจันทร์ในระยะเพียงไม่กี่ไมล์

ภาพ The Ranger program consisted of nine

สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2509-2510 มีเป้าหมายเพื่อถ่ายโดยรอบดวงจันทร์ในขณะที่ยานอวกาศวนรอบดวงจันทร์ จะต่างจากโครงการเรนเจอร์ที่กำหนดให้ไปพุ่งชน ครั้งนี้ประสบความสำเร็จมากจนทำให้แผนที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเกือบ นับเป็นการบุกเบิกให้กับโครงการ เซอร์เวเยอร์ และ อพอลโล ในอนาคต

ภาพ Lunar Obiter

สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2509-2511 นี่คือครั้งแรกมนุษย์ได้ควบคุมการลงจอดของยานอวกกาศลงบนดวงจันทร์จากโลก ได้อย่างนุมนวลและปลอดภัย ความสำเร็จของโครงการนี้เป็นจุดสำคัญที่สหรัฐฯ ได้นำไปพัฒนาต่อในโครงการอพอลโล

The Surveyor program

เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ มีเป้าหมาย คือ ให้มนุษย์ขึ้นไปใช้ชีวิตบนสถานีลอยฟ้าเพื่อทำการค้นคว้าทดลองให้ได้นานที่ สุด เน้นศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูด

Skylab program

นับเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เพื่อร่วมกันทดสอบทดสอบระบบนัดพบและเชื่อมยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียตเข้าด้วยกัน โดยยานอะพอลโลของสหรัฐฯ มีนักบิน 3 คน ขณะที่ยานโซยุซของโซเวียตมีนักบิน 2 คน

ภาพ Apollo-Soyuz

คือพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ เพื่อขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ด้วยจุดประสงค์ที่จะลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มสมรรถนะในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ

the space shuttle

เป็นโครงการที่ส่งมนุษย์ครั้งละ 1 คน ขึ้นไปโคจรในอวกาศ เพื่อทดลองการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมอวกาศ ที่มีความโน้มถ่วงต่ำ

ภาพ The Mercury program

ทดสอบการดำรงชีวิตในอวกาศ ด้วยการนำมนุษย์ 2 คน พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการดำรงชีวิตขึ้นไปโคจรในอวกาศ ให้สามารถดำรงชีพในอวกาศให้นานที่สุด พร้อมทั้งฝึกวิธี นัดพบและต่อเชื่อมกับยานลำอื่นในวงโคจรรอบโลก และนับว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาการใช้เทคนิคการนำยานลงจอดในพื้นที่เป้า หมายได้อย่างเเม่นยำ

โครงการเจมินี (Gemini)

เช้าวันประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 คนนับล้านเฝ้ารอดูการเดินทางไปดวงจันทร์ ผ่านการถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ลูกเรือสามคน ของอพอลโล 11 ประกอบไปด้วย นีล อาร์มสตรอง, เอดวิน อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ยานทำการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ บริเวณทะเลแห่งความสงบ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2512 (วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969) เวลา 09:56 น. ตามเวลาในประเทศไทย
นีล เอ. อาร์มสตรอง (Neil A. Armstrong) ออกจากยานดวงจันทร์ โดยใช้เท้าซ้ายเหยียบลงบนพื้นดินดวงจันทร์ พร้อมกับกล่าวว่า “ก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นก้าวกระโดดไกลของมนุษยชาติ” และนี่คือรอยเท้าแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์

ภาพ Apollo 11 boot print image courtesy of NASA

เมื่อเวลาผ่านไป 19 นาที หลังจาก นีล อาร์มสตรอง ก้าวเท้าลงเหยียบพื้นดินดวงจันทร์ บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) ก้าวเท้าตามลงมา พร้อมกับกล่าวคำสั้นๆ ถึงเอ่ยคำออกมาสั้นๆ สภาพพื้นผิวบนดวงจันทร์ที่ตนมองเห็นว่า “เป็นความอ้างว้างที่ยิ่งใหญ่มาก” (magnificent desolation) โดยมีลูกเรือคนที่สาม คือ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) คอยควบคุมยานรออยู่ในอวกาศรอบดวงจันทร์
จากนั้นมนุษย์อวกาศทั้ง 2 คนจึงทำการนำธงชาติสหรัฐปักลงไปบนพื้นดินดวงจันทร์ และทำการเก็บตัวอย่างดินหิน ดวงจันทร์กลับมายังโลกรวม 22.5 กิโลกรัม พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และสำรวจดวงจันทร์ภายในรัศมีที่กำหนดไว้

ภาพ Buzz Aldrin Salutes American Flag on the moon

พวกเขาใช้เวลาบนดวงจันทร์ทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 31 นาที ก่อนเดินทางกับถึงโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 24 กรกฎาคม ลงบนมหาสมุทรแปซิฟิก ภารกิจของอพอลโล 11 นับตั้งแต่ออกเดินทางจนกลับมาถึงโลกใช้เวลารวมเเล้ว 195 ชั่วโมงกับอีก 18 นาที


   
      https://teen.mthai.com/variety/42530.html

<< Go Back