ดาวฤกษ์ ( Stars หรือ Fixed stars ) เป็นดาวที่มีแสงสว่าง และพลังงานในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์เกิดจากก๊าซและฝุ่นอวกาศที่เรียกว่า เนบิวลา ดาวฤกษ เกิดขึ้นมาได้โดยเริ่มจากที่ เนบิวลา (Nebula) มีแรงโน้มถ่วงภายในทำให้ก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนวนพร้อมยุบตัวลง เกิดเป็นแกนของดาวฤกษ์ดวงใหม่ ต่อมาดาวฤกษ์ดวงใหม่เกิดการยุบตัวอีก แกนกลางมีความหนาแน่นมากขึ้นเกิดช่องว่างและก๊าซเบาบางรอบนอก เมื่อแกนกลางมีความหนาแน่นจนถึงขั้นวิกฤติมันจะระเบิดออกมา เรียกว่า ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermo nuclears) ก๊าซจะกระจายออกได้ดาวฤกษ์ดวงใหม่ และจบลงด้วยการระเบิดอย่างรุนอย่างรุนแรง เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (Supernova) หลังจากนั้นแรงโน้มถ่วงจะทำให้ดาวยุบตัวลงดาวที่มีมวลมากจะกลายเป็น ดาวนิวตรอน ส่วนดาวที่มีมวลสูงมากๆ จะกลายเป็น หลุมดำ (Balck hole) ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด คือ ดาวพร็อกซิเมนเซนเทารี ( Proxima centauri) อยู่ห่างจากระบบสุริยะประมาณ 4.3 ปีแสง หรือประมาณ 40 ล้านกิโลเมตร
ความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงจากดาวฤกษ์ดวงนั้นใน 1 วินาทีต่อ 1 หน่วยพื้นที่ ความสว่างของดาวฤกษ์จะบอกในรูปของอันดับความสว่าง (magnitude) ซึ่งไม่มีหน่วย อันดับความสว่างเป็นเพียงตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่า ดาวที่มีความสว่างมาก อันดับความสว่างยิ่งน้อย ส่วนดาวที่มีความสว่างน้อย อันดับความสว่างจะมีค่ามาก โดยกำหนดว่า
- ดาวฤกษ์ที่ริบหรี่ที่สุดจะมีอันดับความสว่าง 6
- ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะมีอันดับความสว่าง 1
- อันดับความสว่างสามารถนำไปใช้กับดวงจันทร์และดาวเคราะห์ได้
ดวงอาทิตย์ มีอันดับความสว่าง -26.7
ดวงจันทร์คืนวันเพ็ญ มีอันดับความสว่าง -12.6
ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด มีอันคับความสว่าง - 4.5
ดาวอังคารเมื่อสว่างที่สุด มีอันดับความสว่าง - 2.7
ดาวซีริอัสในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ มีอันดับความสว่าง - 1.5
ดาวพรอกซิมาเซนทารี มีอันดับความสว่าง 10.7
อันดับความสว่างของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อันดับความสว่างปรากฏ เป็นอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกที่มองเห็นด้วย ตาเปล่า แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวแต่ละดวงได้ เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกและดวงดาวมีผลต่อการมองเห็นความสว่าง ดาวที่มีความสว่างเท่ากันแต่อยู่ห่างจากโลกต่างกัน คนบนโลกจะมองเห็น ดาวที่อยู่ใกล้สว่างกว่าดาวที่อยู่ไกล
2. อันดับความสว่างที่แท้จริง เป็นความสว่างจริงของดวงดาว การบอกอันดับความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวจึงเป็นค่าความสว่างปรากฏของดาวในตำแหน่งที่ดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน คือ กำหนดระยะทาง เป็น 10 พาร์เซก หรือ 32.61 ปีแสง เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวได้ อันดับความสว่างปรากฏและอันดับความสว่างแท้จริงมีค่าไม่เท่ากัน เช่น ดาวพรอกซิมาเซนเทารีในกลุ่มดาวเซนทอร์มีอันดับความสว่างปรากฏเป็น 10.7 แต่มีอันดับความสว่างแท้จริงเป็น 14.9 เป็นต้น
http://silverlight-of-moon.blogspot.com/2010/01/blog-post.html
|