<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการคาดคะเนเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมในอดีตได้
2. อธิบายวิธีการในการศึกษาธรณีประวัติของพื้นที่ในท้องถิ่น

ข้อมูลเกี่ยวกับดิน ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับความลึกตั้งแต่ 2 – 600 เมตร

1. วิเคราะห์ข้อมูลที่นักธรณีวิทยาสำรวจพบจากการขุดดินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่าได้ผิวดินประมาณ 1-2 เมตรลงไป จนถึงดินที่ลึกประมาณ 2-20 เมตรจะมีลักษณะเป็นดินเหนียว อ่อนนุ่มสีเทาถึงเทาปนเขียว มีซากหอยทะเล ซากพืชปนอยู่ นักธรณีวิทยาเรียกชื่อดินนี้ว่า ดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay)
2. ถ้าขุดลึกลงไปใต้ดินเหนียวกรุงเทพจะพบดินเหนียวเนื้อแน่นแข็งสีน้ำตาลแดงถึงส้ม พบชั้นทราย ชั้นกรวด สลับกันหลายชั้น ดินชั้นนี้จะมีความลึกตั้งแต่ประมาณ 20-600 เมตร ขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของหินรากฐาน และเป็นแหล่งน้ำบาดาลที่สำคัญ
3. อภิปรายและตั้งสมมติฐานการกำเนิดหรือสภาพของที่ราบภาคกลางตอนล่างในอดีตกาล

ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในอดีต (ประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา) ของที่ราบภาคกลางพร้อมเหตุผล

- นักธรณีวิทยาใช้หลักฐานการจากการขุดดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า ดินที่มีผิวดินจนถึงที่ระดับความลึก 20 เมตร มีลักษณะเป็นดินเหนียว นุ่ม สีเทาปนเขียว มีซากหอยทะเลและซากพืชปน เมื่อนำเอาซากหอยแต่ละชั้นจากดินชั้นล่างขึ้นไปผิวดินตอนบน ไปหาอายุสัมบูรณ์ด้วยวิธีการธาตุคาร์บอน -14 จะได้อายุตั้งแต่ประมาณ 6,000 – 800 ปี

- จากลักษณะของดินในที่ราบภาคกลางตอนล่างในปัจจุบัน พบว่าดินที่ผิวดินจนถึงดินในระดับลึกประมาณ 20 เมตร มีสีเทาปนสีเขียว ซึ่งลักษณะของดินเหนียวทะเลและสีเทาปนดำของตะกอนจากป่าชายเลน นอกจากนั้นยังพบซากหอยทะเลที่เมื่อนำไปหาอายุ ทำให้รู้ว่ามีอายุประมาณ 6,000 ปีลงมา แสดงว่าดินที่บริเวณนี้เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ดินชายทะเล น้ำทะเลท่วมถึง แต่จากชั้นดิน ที่อยู่ลึกลงไปเกิน 20 เมตร พบว่ามีลักษณะเป็นตะกอนทราย ดินเหนียวและกรวด ซึ่งเป็นลักษณะของการสะสมตะกอนจากทางน้ำ ที่มีอายุประมาณ 12,000 ปีขึ้นไป และมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องระหว่างตะกอนตอนล่างกับตะกอนน้ำทะเลตอนบน แสดงว่าที่ราบภาคกลางก่อน 6,000 ปีไม่ได้เป็นทะเล

<< Go Back