<< Go Back

นักธรณีวิทยา (Geologist) คือ ผู้ศึกษา ค้นคว้า และเสาะแสวงหา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่งลึกลงไปภายใต้พื้นผิวโลก และถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลในสายงานอื่นๆ เพื่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างสมดุลกับธรรมชาติ โดยการศึกษาข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากการสำรวจอย่างมีระบบ
นักธรณีวิทยาจะบูรณาการความรู้ทางธรณีวิทยากับข้อมูลที่มีอยู่ และถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปงานทางธรณีวิทยามักจะอยู่ในชั้นตอนแรกๆ ของโครงการต่างๆ หลังจากนั้นจะคอยควบคุม ให้คำแนะนำ และประเมินผลกับผู้ร่วมงานจนเสร็จสิ้นโครงการ

ที่มาภาพ : http://www.geothai.net/geologists/

นักธรณีวิทยามีหน้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะงานของแต่ละคน ผู้ที่จบจากสาขาธรณีวิทยา สามารถเลือกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

Coal geologists สำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรถ่านหิน ประเมินศักยภาพการทำเหมืองถ่านหิน และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากถ่านหิน
Computing geologists พัฒนาโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นพี่และการวางแผนจัดการ
Economic geologists ศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพแหล่งแร่เศรษฐกิจ
Engineering geologists วิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ในเรื่องของความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ เขื่อน ทางหลวง สนามบิน อุโมงค์ และในการสำรวจและผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แหล่งแร่ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับวิศวกร
Environmental geologists ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้พื้นพูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีค่าเหมือนเดิม
Geochemists ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแร่และหิน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายตัว และคุณภาพของแร่ในเปลือกโลก
Geochronologists วิเคราะห์อายุของหิน โดยการศึกษาจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
Geomorphologists ศึกษาภูมิประเทศ และกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก
Hydrogeologists ศึกษาปริมาณและคุณภาพของน้ำใต้ดิน ตรวจสอบการปนเปื้อน และพัฒนาน้ำใต้ดินมาใช้
Marine geologists ศึกษาสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร ให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของแอ่งในมหาสมุทร เป็นประโยชน์ต่อการสำรวจแหล่งแร่และปิโตรเลียม
Mineralogists วิเคราะห์และจำแนกแร่และหิน จากองค์ประกอบทางเคมี และโครงสร้างของแร่ เพื่อนำไปพัฒนาในอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
Mining geologists ค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และศึกษาแง่ของศักยภาพและความปลอดภัยในการทำเหมือง
Paleontologists ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การกำหนดอายุทางธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม วิวัฒนาการของสภาพแวดล้อมในอดีต
Petroleum geologists ศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี เพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และให้ข้อมูลกับวิศวกรปิโตรเลียมในกระบวนการสำรวจและผลิต
Planetary geologists ศึกษาพฤติกรรมและวิวัฒนาการของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในจักรวาล
Sedimentologists ศึกษากระบวนการเกิดหินตะกอน คุณสมบัติทางการภาพและเคมีของหิน เพื่อนำไปประยุกต์กับการหาแหล่งถ่านหิน ปิโตรเลียม และทรัพยากรแร่
Stratigraphers ศึกษาการระบบของชั้นหินตะกอน วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ เปรียบเทียบกับข้อมูลจากพื้นที่อื่น ในระหว่างการหาทรัพยากรธรรมชาติ
Structural geologists ศึกษารูปร่างและการเปลี่ยนรูปของหิน ในพื้นที่ศักยภาพต่อการสะสมตัวของแหล่งแร่ และปิโตรเลียม
Surficial geologists ศึกษาตะกอน และชั้นหินบริเวณผิวโลก เพื่อเป็นข้อมูลต่อการก่อสร้าง การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งปนเปื้อน การจัดการพื้นที่และการวางระบบผังเมือง
Volcanologists ศึกษาภูเขาไฟที่ยังปะทุและดับแล้ว ศึกษากระบวนการเกิดทั้งทางเคมี และกายภาพ เพื่อประเมินการเสี่ยงภัยในอนาคต
Wellsite geologists ทำงานใกล้ชิดกับทีมงานขุดเจาะในพื้นที่สำรวจ เพื่อให้มั่นใจว่าหลุมเจาะนั้นอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และทำการเก็บตัวอย่างจากหลุมเจาะมาวิเคราะห์

สภาพการทำงานของนักธรณีวิทยาล้วนแล้วแต่แตกต่างกันออกไปตามบทบาทข้างต้น มีทั้งการทำงานในห้องทำงาน และการออกสำรวจภาคสนาม ซึ่งอาจจะต้องออกสำรวจภาคสนามนานนับเดือน ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งบนบกและกลางทะเล หากเป็นงานในเหมืองแร่อาจจะต้องทำงานใต้ดินอีกด้วย ซึ่งแต่ละสถานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูง และอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ ดังนั้นผู้ที่สนใจในอาชีพนักธรณีวิทยาที่ดีจะต้องมีจิตใจมั่นคงไม่ท้อถอย ชอบท่องเที่ยว ผจญภัย ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ มีวินัย มีความคิดริเริ่ม มีความจำดี ช่างสังเกต สุขภาพแข็งแรง อดทน เรียบง่าย สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี

ในปัจจุบัน ภาวะความต้องการบัณฑิตด้านธรณีวิทยามีแนวโน้มสูงขึ้นมาก สืบเนื่องจากอุตสาหกรรมด้านเหมืองแร่และปิโตรเลียม เติบโตขึ้นอย่างสูง ซึ่งถึงแม้ในสมัยเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทั้งและเศรษฐกิจและแร่รัตนชาติ นั้นไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากทรัพยากรธรณีเหล่านี้เริ่มหมดไปจากประเทศไทย
แต่เนื่องจากแนวโน้มบริษัทเติบโตและเน้นไปในทางสำรวจและผลิตโดยอาศัย สัมปทานจากนอกประเทศ ส่งผลให้ภาวะความต้องการบัณฑิตด้านธรณีวิทยาในปัจจุบันกลับมาสูงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และพิบัติภัยธรรมชาติ เพิ่มสูงขึ้นทำให้ความต้องการบัณฑิตหรือบุคคลากรในด้านนี้สูงขึ้นตามไปด้วย

ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นตลาดแรงงานด้านธรณีวิทยาในปัจจุบันมีความต้องการสูงมากทั้งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรืออุตสาหกรรมปิโตรเลียม หรือแม้แต่งานด้านธรณีวิทยาด้านอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากสายงานด้านธรณีนั้นเป็นสายงานเฉพาะ ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และประสบการณ์ตรงควบคู่ไปด้วย จึงทำให้ปริมาณบัณฑิตในแต่ละปีมีจำนวนไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงาน
อย่างไรก็ตามภาควิชามีนโยบายผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและตอบสนองให้ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอจากที่สุด โดยอาศัยช่องทางการฝึกงานของนิสิตในประดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชามีการติดตามผลและประเมินนิสิตในแต่ละกรณีเพื่อหาแนวทางปรับปรุง โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารกับนิสิตเก่า ที่กระจายอยู่ตามองค์กรต่างๆ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการอธิบายหรือแนะนำให้ นิสิตและผู้ฝึกงานเข้าใจและทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิผลมากที่สุด

 

 

       http://www.geo.sc.chula.ac.th/jobs/
       http://www.geothai.net/geologists/

<< Go Back