<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายหลักการพาความร้อนของสารและเชื่อมโยงถึงสาเหตุที่ทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่

1. สีผสมอาหาร
2. เศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 0.5 x 0.5 เซนติเมตร
3. หยอดหยด
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์
5. ถาดอะลูมิเนียม และสามขาสำหรับตั้งถาด

ถาดอะลูมิเนียม เศษกระดาษ หยอดหยด

ตะเกียงแอลกอฮอล์ สีผสมอาหาร

1. เทน้ำลงในถาดอะลูมิเนียมสูงประมาณ 2 เซนติเมตร
2. ให้ความร้อนแก่น้ำที่บริเวณกึ่งกลางถาดโดยใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์
3. หยดสีผสมอาหารลงในน้ำ 1 หยด โดยให้ตำแหน่งที่หยดสีตรงกับตำแหน่งไส้ตะเกียงแอลกอฮอล์ สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสีผสมอาหาร
4. หยดสีผสมอาหารลงในน้ำ 1 หยด เช่นเดียวกับข้อ 3. แล้วค่อยๆ หย่อนเศษกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 0.5 x 0.5 เซนติเมตร จำนวน 2-3 ชิ้น ลงบนผิวน้ำที่บริเวณเดียวกับที่หยดสี โดยไม่ให้เศษกระดาษซ้อนกัน สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเศษกระดาษ

สีผสมอาหารจะปนอยู่กับโมเลกุลของน้ำ และเคลื่อนที่ไปกับน้ำโดยไหลวนกลับมา ซึ่งสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ของเศษกระดาษที่อยู่ตอนบน

น้ำเมื่อได้รับความร้อน โมเลกุลของน้ำจะขยายตัวเคลื่อนที่จากด้านล่างซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับความร้อนขึ้นสู่ผิวน้ำ ขณะที่เคลื่อนที่ขึ้นโมเลกุลน้ำจะถ่ายโอนความร้อนให้กับโมเลกุลน้ำที่อยู่ตอนบน แล้วโมเลกุลของน้ำจะเคลื่อนที่ไหลวนกลับมาด้านล่างแผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน ซึ่งสังเกตได้จากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลสีผสมอาหารที่ปนอยู่ในน้ำ และเมื่อว่างชิ้นกระดาษบนผิวน้ำ ชิ้นกระดาษจะเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กับโมเลกุลของน้ำ การเคลื่อนที่ของโมเลกุลของน้ำเปรียบเหมือนกับการเคลื่อนที่ของแมกนาในชั้นฐานธรณีภาค ที่จะพยายามดันและแทรกตัวตามรอยแตกขึ้นสู่ตอนบนผิวโลก ทำให้ส่วนที่เป็นของแข็งของเปลือกโลกในชั้นธรณีภาคเคลื่อนที่ติดไปด้วย เกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค

<< Go Back