<< Go Back

ในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่ายดังนั้นหากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง ซ้ำภูเขาไฟในทุกภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว
ภาคเหนือ พบในเขตจังหวัด ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์
ภาคกลาง พบในเขตจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สระบุรี และลพบุรี
ภาคตะวันออก พบในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี จันทบุรี นครนายก และตราด
ภาคตะวันตก พบในเขตจังหวัด กาญจนบุรีและจังหวัดตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในเขตจังหวัด นครราชสีมา ศรีษะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ เลย และสุรินทร์

ภูเขาไฟที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ในเขตจังหวัดเลยโดยมีอายุราว 395-435 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งมีอายุมากกว่าปล่องภูเขาไฟที่พบในจังหวัดสุโขทัยและบุรีรัมย์ที่มีอายุเพียง 20 -30 ล้านปีเท่านั้นเองการเกิดระเบิดของภูเขาไฟใช่ว่าจะนำพามาแต่ความหายนะอย่างเดียว ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดก็ยังมีอยู่เช่นกัน การระเบิดของภูเขาไฟถือเป็นการปรับสภาพของเปลือกโลกให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น ฝุ่นที่ละอองซึ่งเกิดจากแรงระเบิดของภูเขาไฟจะฟุ้งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ ทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงจากสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ดินที่เกิดจากแหล่งภูเขาไฟจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุ ซึ่งเหมาะสำหรับทำการเกษตร ทั้งยังทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญเช่น เพชร เหล็ก เป็นต้น
แม้ภัยธรรมชาติจากภูเขาไฟระเบิดแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเมืองไทยในยุคปัจจุบัน แต่สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก่อเกิดเป็นภัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ธรรมชาติมีสิ่งที่ให้เราเรียนรู้และทำความเข้าใจอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจากภายใต้โลกใบโต นำความรับรู้ใหม่ๆมาให้เราได้ทำความเข้าใจว่าธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเกิดจากอะไร ซึ่งมีน่าสนใจพอๆกับตำนานที่เล่าขานกันว่ามีสัตว์ขนาดมหึมานอนหนุนโลกอยู่ตามความรับรู้เดิมๆของมนุษย์เรา นี้อาจจะเป็นเสน่ห์ของการเรียนรู้จากธรรมชาติเพื่อความเข้าใจอย่างเท่าทันและอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

จากการตรวจสอบแผนที่ประเทศไทยพบว่าภูเขาไฟระเบิดหลายจุดในอดีต โดยนักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการเก็บหิน และหลักฐานบางอย่างตรวจสอบ ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานที่เก็บมาพบว่าเคยมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 แสนล้านปีที่ผ่านมา บริเวณที่เกิดภูเขาไฟในประเทศไทยมีดังนี้

1. ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง สถานที่เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทหินทรายสีชมพูสวยงามมาก สร้างขึ้นบนยอดภูเขาลูกเตี้ยๆ ที่มีลักษณะเป็นปากปล่องภูเขาไฟ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานสำหรับเมืองใหญ่ในที่ราบใกล้เคียงกันชื่อเมือง วนัมรุงปุระ ในสมัยขอมเรืองอำนาจ

ภูเขาไฟพนมรุ้ง หรือ ปราสาทพนมรุ้ง
ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120159

2. ภูเขาไฟหินหลุบ และภูเขาไฟคอก จ.บุรีรัมย์ “ภูเขาไฟหลุบ” อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ “ภูเขาไฟเขาคอก” ตั้งอยู่ในอำเภอประโคนชัย ภูเขาไฟทั้งสองแห่งนี้ เเม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาในเรื่องเกี่ยวกับภูเขาไฟของไทยได้เป็นอย่างดี

3. ภูเขาไฟอังคาร สถานที่ภูพระอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง ที่ยอดเขาอังคารแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ “วัดเขาพระอังคาร” ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์หลายสมัยที่สวยงามแปลกตา และภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ชม

ภูเขาไฟเขาอังคาร หรือ โบสถ์วัดเขาพระอังคาร
ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120159

4. ภูเขาไฟกระโดง สถานที่เขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องทะลุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด บนเขากระโดงยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น

ภูเขาไฟกระโดง
ที่มา :https://www.buriramworld.com/ภูเขาไฟสุดยิ่งใหญ่ในบุ/

5. ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์ ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ มีสัณฐานของช่องปล่องประทุระเบิดชัดเจน เนินภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ(Pyroclastic Materials) ซึ่งเกิดจากแรงดันของก๊าซ (Gas) ต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในหินหลอมละลาย เช่น ไอน้ำ (70.75%) คาร์บอนไดออกไซด์ (14.07%) ไฮโดรเจน (0.33%) ไนโตรเจน (5.45%) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (6.40%) ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ (1.93%) เป็นต้น เศษหินภูเขาไฟเหล่านี้เป็นมวลหินหลอมละลายที่ถูกดันประทุขึ้นไปและเย็นแข็งตัวในอากาศ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีชื่อเฉพาะเรียกแตกต่างกัน

6. ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด และภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู จ.ลำปาง ปล่องภูเขาไฟลำปางยังมีอีกบริเวณหนึ่ง อยู่ที่บริเวณอำเภอเกาะคา โดยจะเห็นชั้นหินลาวา (หินบะซอลต์) ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ เนื่องจากปากปล่องภูเขาไฟมีบริเวณกว้าง ลักษณะของพืชหรือต้นไม้คลุมดินมีลักษณะเหมือนๆ กับภูมิประเทศทั่วๆ ไป จึงไม่เป็นที่ทราบว่าบริเวณนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปล่องภูเขาไฟมาก่อน ชื่อว่าปล่องภูเขาไฟสบปราบ มีลักษณะเป็นเนินยาวขนานไปกับแม่น้ำวังซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก ตอนเหนือเป็นเนินสูงรูปร่างคล้ายกรวย ฐานกว้าง มีแบบรูปทางน้ำเป็นรัศมีและวงแหวน ตอนใต้เป็นเนินยาวค่อนข้างราบ บนยอดเนินรูปกรวย มีลักษณะเป็นแอ่งรูปวงกลม มีขอบสูงเปิดออกทางทิศตะวันตก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 700 เมตร ลักษณะของเนินทั้งทางตอนเหนือ และตอนใต้เป็นธรณีสันฐานที่เกิดจากภูเขาไฟและลาวาหลาก

ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด
ที่มา: https://sites.google.com/site/sci30108/phukheafi/phukheafi-ni-prathesthiy

 

 

        https://sites.google.com/site/sci30108/phukheafi/phukheafi-ni-prathesthiy

<< Go Back