<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ ตรวจสอบ ลักษณะของหินภูเขาไฟ จากหินตัวอย่างได้
2. อธิบายโดยเชื่อมโยงลักษณะของหินภูเขาไฟกับกระบวนการเกิดของหินภูเขาไฟนั้น ๆ ได้
3. บอกแหล่งหินภูเขาไฟในประเทศไทยได้

1. ตัวอย่างหินภูเขาไฟ (แต่ละกลุ่มควรมีตัวอย่างหินภูเขาไฟหลายๆ ชนิด เช่น หินบะซอลต์ , หินแอนดีไซต์ , หินไรโอไลต์ และหินพัมมิซ เป็นต้น)
2. แว่นขยาย
3. กรดเกลือเจือจาง (10 %)
4. แบบบันทึกผล

ตัวอย่างหินภูเขาไฟ
แว่นขยาย กรดเกลือเจือจาง

1. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการระเบิดของภูเขาไฟ จากวีดีทัศน์
2. สังเกตรายละเอียดของหินภูเขาไฟด้วยตาเปล่า และเลนส์ขยาย ทดสอบปฏิกิริยาเคมีด้วยกรดไฮโดรคลอริก และบันทึกลักษณะของตัวอย่างหินภูเขาไฟในห้องปฏิบัติการ
3. สรุปและเขียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะ ชนิด และรูปร่างของหินภูเขาไฟที่ศึกษา

หินภูเขาไฟแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ดังตารางต่อไปนี้

ชื่อหิน

ลักษณะเนื้อหิน

ปฏิกิริยาเคมี

  ไรโดไลต์   เนื้อละเอียดมาก อาจมีเนื้อดอก สีอ่อน ขาว ชมพู เทา
ไม่เกิด
  แอนดีไซต์   เนื้อละเอียดมาก แน่นทึบ  สีเทาแก่ เขียว ดำเข้ม
ไม่เกิด
  บะซอลต์   เนื้อแน่น  ละเอียด  มักมีรูพรุน  สีเข้มดำ
ไม่เกิด
  ทัฟฟ์   เนื้อหินแน่น  ประกอบด้วยเศษหินละเอียดต่างๆ สีอ่อน
ไม่เกิด
  ออบซิเดียน   เนื้อแก้ว  ไม่มีรูปผลึก  สีเข้ม
ไม่เกิด
  พัมมิซ   เนื้อมีรูพรุน เบา ลอยน้ำได้  สีอ่อน
ไม่เกิด
  สคอเรีย   เนื้อมีรูพรุน  เบา  ลอยน้ำได้  สีเข้ม
ไม่เกิด

ลักษณะของหินภูเขาไฟสามารถบอกเกี่ยวกับลักษณะการปะทุ หรือการระเบิดของภูเขาไฟ ได้ดังนี้คือ หินที่มีเนื้อแน่น ละเอียด มีดอก และสีต่างๆ เช่น ไรโอไลต์ แอนดีไซต์ แสดงว่าเป็นหินที่เย็นและแข็งตัวมาจากลาวาที่มีความหนืดสูงไหลหลากมาจากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นหินเนื้อแน่น มีรูพรุน เช่น บะซอลต์ แสดงว่าเป็นหินที่เย็นและแข็งตัวจากลาวาที่มีไอน้ำปนอยู่ เกิดจากการระเบิดแล้วไหลจากปล่องภูเขาไฟมาแข็งตัวภายนอก และจากลักษณะของหินทัฟฟ์ แสดงว่าเกิดจากการแข็งตัวของเถ้าภูเขาไฟที่พ่นขึ้นมาจากปล่อง เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรง เป็นต้น

 

<< Go Back