<< Go Back

                   เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการทำงานของตัวรับรู้รังสีอินฟราเรด

1. IR โฟโตไอโอด

2. โวลต์มิเตอร์

   

3. เซลล์ไฟฟ้า 1.5 V 4 ก้อน พร้อมกระบะ

4. ตัวต้านทาน 25 กิโลโอห์ม

5. สายไฟ

6. แผ่นประกอบวงจร

                   1. ต่อวงจรไฟฟ้าดังรูป แล้วใช้ที่กดปุ่มเปลี่ยนช่อง (remote) ของโทรทัศน์เป็นตัวส่งสัญญาณอินฟราเรด

                   2. เล็ง remote ไปที่ตัวรับรู้รังสีอินฟราเรดแล้วกดปุ่ม
                   3. สังเกตผลที่เกิดขึ้น

                   ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ขณะที่ไม่มีรังสีอินฟราเรดตกกระทบ     = 0     - 0.05   โวลต์
                   ค่าที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ขณะที่มีรังสีอินฟราเรดตกกระทบ                      = 0.2  - 0.25    โวลต์

            สรุปได้ว่า เมื่อต่อ IR โฟโตไดโอด เข้ากับวงจรไฟฟ้าแล้วอ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทานได้ค่าความต่างศักย์ประมาณ 0 โวลต์ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าในวงจร แต่เมื่อใช้รีโมทของโทรทัศน์ส่งรังสีอินฟราเรดไปยัง IR โฟโตไดโอด โวลต์มิเตอร์จะอ่านค่าความต่างศักย์ที่คร่อมตัวต้านทานได้ประมาณ 0.2 โวลต์ แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าในวงจร นั่นคือ เมื่อรังสีอินฟราเรดตกกระทบ IR โฟโตไดโอดที่ต่อแบบไบแอสกลับนั้น IR โฟโตไอโอดจะยอมให้มีกระแสไฟฟ้าในวงจร  ดังนั้นจึงสามารถใช้ IR โฟโตไดโอด เป็นตัวรับรู้รังสีอินฟราเรดได้


<< Go Back