<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการทำงานของ  LDR  เมื่อใช้เป็นตัวรับรู้ความสว่างของแสง

1. LDR

2. ตัวต้านทานที่ปรับค่าได้

3. โอห์มมิเตอร์

4. มิลลิแอมมิเตอร์

5. สวิตซ์

6. เซลล์ไฟฟ้า 1.5 V 4 ก้อน พร้อมกระบะ

7. สายไฟ

 

1. ใช้โอห์มมิเตอร์ วัดค่าความต้านทานของ LDR เมื่ออยู่ในที่สว่างและในที่มืด ดังรูป

2. ต่อวงจรไฟฟ้า ดังรูป

3. ปรับค่าความต้านทานของ VR (Variable resistor) จนเข็มของมิลลิแอมมิเตอร์อ่านได้ชัดเจน ทั้งบริเวณที่มีแสงมากและน้อย หลังจากปรับ VR แล้ว ไม่ต้องปรับอีก จากนั้นทำการทดลองวัดค่าของกระแสไฟฟ้าเมื่อปรับค่าความสว่างที่ตกกระทบ LDR ต่างๆ

4. ถ้ามี Lux - meter ให้ทำการทดลองเปรียบเทียบค่าความสว่างที่อ่านได้จากมิเตอร์กับค่ากระแสไฟฟ้าจากเครื่องวัดที่สร้างตามข้อ 3

ผลการทดลองที่ได้  คือ
1. ความต้านทานของ LDR เมื่อมีแสงตกกระทบ            LDR              =  0.75 กิโลโอห์ม
                                                      เมื่อไม่มีแสงตกกระทบ LDR                    =  46.5 กิโลโอห์ม
2. กระแสไฟฟ้า                    เมื่อมีแสงตกกระทบ LDR                        =  11.3 มิลลิแอมแปร์
                                                       เมื่อไม่มีแสงตกกระทบ LDR                   =  0.1   มิลลิแอมแปร์

สรุปได้ว่า ความต้านทานของ LDR มีค่าไม่คงตัว โดยขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงที่ตกกระทบ ถ้าแสงที่ตกกระทบมีความสว่างมาก ความต้านทานจะมีค่าน้อย ถ้าแสงที่ตกกระทบมีความสว่างน้อย ความต้านทานจะมีค่ามาก เมื่อต่อ LDR เข้ากับวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากมิลลิแอมมิเตอร์ จะมีค่ามาก เมื่อแสงที่ตกกระทบมีความสว่างมาก เพราะขณะนั้นความต้านทานของ LDR มีค่าน้อย และกระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะมีค่าน้อย เมื่อแสงที่ตกกระทบมีความสว่างน้อย เพราะขณะนั้นความต้านทานของ LDR มีค่ามาก เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้และความสว่างของแสงที่ตกกระทบ LDR มีความสัมพันธ์กัน จึงสามารถใช้ LDR เป็นตัวรับรู้ความสว่างของแสงได้ ในกรณีที่มี Lux – meter ก็จะสามารถใช้ LDR นี้เป็นเรื่องวัดความสว่างของแสงได้ เมื่อมีการสอบเทียบสเกลกับ Lux - meter


<< Go Back