<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนสามารถหาค่าคงตัวในการสลายของนิวเคลียสโดยเปรียบเทียบกับการทอดลูกเต๋า

1. กล่องใส่ลูกเต๋า     1    กล่อง

2. ลูกเต๋า 6 หน้า     40   ลูก

ตอนที่ 1
1. ใช้ลูกเต๋า 6 หน้า จำนวน 40 ลูก โดยหน้าหนึ่งของลูกเต๋ามีสีแต้มไว้
2. นำลูกเต๋าทั้งหมดใส่กล่องแล้วทอดลงบนพื้นพร้อมๆกัน
3. คัดลูกเต๋าที่ออกหน้าที่แต้มสีออก บันทึกจำนวนลูกเต๋าที่เหลือลงในตารางบันทึกผลการทดลอง
4. จากจำนวนลูกเต๋าที่เหลือ ทำการทดลองซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง โดยการคัดลูกเต๋าที่หงายหน้าที่แต้มออกทุกครั้ง จนกระทั่งเหลือลูกเต๋าที่จะทอดเพียง 2-3 ลูก หรือไม่มีเลย
5. เขียนกราฟระหว่างจำนวนครั้งที่ทอดกับจำนวนลูกเต๋าที่เหลือโดยให้จำนวนลูกเต๋าที่เหลืออยู่บนแกนยืน และจำนวนครั้งที่ทอดอยู่บนแกนนอน
6. จากกราฟ หาจำนวนครั้งที่ทอดแล้วมีลูกเต๋าเหลือ 20, 10 และ 5 ลูก ตามลำดับ

ตอนที่ 2
1. แต้มสีที่ลูกเต๋า 2 หน้า โดยแต้มด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน
2. ทำการทดลองซ้ำ เช่นเดียวกับตอนที่ 1
3. เขียนกราฟระหว่างจำนวนครั้งที่ทอดกับจำนวนลูกเต๋าที่เหลือ

ผลการทดลอง   ตอนที่ 1

จำนวนครั้งที่ทอด จำนวนลูกเต๋าที่เหลือ เฉลี่ย
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4
0 40 40 40 40 40
1 34 32 34 32 33
2 29 28 29 27 28.25
3 25 24 23 24 23.75
4 21 21 19 23 21
5 18 19 15 17 17.25
6 15 16 11 14 14
7 12 13 10 10 11.25
8 11 11 9 8 9.75
9 10 8 8 7 8.25
10 7 5 6 5 5.75
11 5 4 6 5 5
12 4 4 5 3 4
13 2 3 4 2 2.75
14 2 1 3 2 2
15 1 1 1 2 1.25

ผลการทดลอง   ตอนที่ 2

จำนวนครั้งที่ทอด จำนวนลูกเต๋าที่เหลือ เฉลี่ย
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4
0 40 40 40 40 40
1 29 28 25 31 28.25
2 22 20 18 20 20
3 17 16 14 15 16.5
4 14 10 11 11 11.5
5 10 7 6 9 8
6 8 6 6 6 7
7 6 4 5 6 5.25
8 5 3 4 5 4.25
9 3 2 2 3 2.5
10 2 2 2 1 1.75
11 1 2 1 1 1.75
12 1 1 1 1 1

นำผลการทดลองมาเขียนกราฟระหว่างจำนวนครั้งที่ทอดกับจำนวนลูกเต๋าที่เหลือ จะได้กราฟดังนี้

สรุปได้ว่า

1. เส้นกราฟที่เขียนขึ้นระหว่างจำนวนลูกเต๋าที่เหลือกับจำนวนครั้งที่ทอด 2 ตอน มีลักษณะเช่นเดียวกับกราฟระหว่างจำนวนนิวเคลียสที่เหลือกับเวลาของธาตุกัมมันตรังสี
2. จำนวนครั้งที่ทอดแล้วทำให้ลูกเต๋าลดเหลือครึ่งหนึ่ง เช่น จาก 40 เหลือ 20 จาก 20 เหลือ 10 หรือจาก 10 เหลือ 5 มีค่าใกล้เคียงกัน และค่าที่ได้จากการทดลองตอนที่ 1 จะมากกว่าที่ได้จากการทดลองที่ 2 ประมาณ 2 เท่า
3. จำนวนลูกเต๋าที่เหลือจากการทดลองแต่ละครั้งเปรียบได้กับจำนวนนิวเคลียสที่ยังไม่สลาย
4. จำนวนครั้งที่ทอดเปรียบได้กับเวลาที่ผ่านไป
5. จำนวนครั้งที่ทอดแล้วทำให้ลูกเต๋าเหลือครึ่งหนึ่งเปรียบได้กับครึ่งชีวิต
6. โอกาสที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าที่แต้มสีขึ้นในการทอดแต่ละครั้ง เปรียบได้กับค่าคงตัวการสลายชุดลูกเต๋าที่มีจำนวนหน้าแต้มสีต่างกัน จะมีโอกาสที่จะหงายหน้าที่แต้มสีขึ้นไม่เท่ากัน เปรียบได้กับนิวเคลียสต่างชนิดกันจะมีค่าคงตัวการสลายต่างกัน


<< Go Back