<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนศึกษาสเปกตรัมของก๊าซร้อน

1. หลอดบรรจุก๊าซไฮโดรเจนและนีออน

2. ขดลวดเหนี่ยวนำ

3. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ

4. ไม้เมตร

5. เกรตติง

1. ต่อเสียบหลอดบรรจุก๊าซเข้ากับที่เสียบขดลวดเหนี่ยวนำและต่อเข้ากับหม้อแปลงโวลต์ต่ำ ใช้ความต่างศักย์ 12 โวลต์
2. วางไม้เมตรไว้ข้างหน้าหลอด จัดให้ขีดกึ่งกลางไม้เมตรอยู่ตรงกับหลอดบรรจุก๊าซดังรูปด้านล่าง

3. วัดระยะตั้งฉาก D จากไม้เมตร ห่างออกประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มองเกรตติง
4. เปิดสวิตซ์หม้อแปลง แล้วมองผ่านเกรตติง
5. จัดระนาบให้เส้นสเปกตรัมปรากฏชัดที่ทั้งสองข้างของไม้เมตร บันทึกภาพและสีที่เห็น
6. บันทึกตำแหน่งต่างๆ ของเส้นสเปกตรัมที่ปรากฏบนไม้เมตร บันทึกภาพและสีที่เห็น
7. บันทึกตำแหน่งต่างๆ ของเส้นสเปกตรัมที่ปรากฏบนไม้เมตรแต่ละข้าง
8. หาระยะห่างจากขีดกลางไม้เมตรของสเปกตรัมแต่ละสีเป็นระยะ x

ผลการทดลองที่ได้  คือ

แหล่ง
กำเนิด

สี
ของ
เส้น
สเปกตรัม

เส้นสเปกตรัม
ทางขวา

เส้นสเปกตรัม
ทางซ้าย

ระยะ
เฉลี่ย

(cm)


(cm)

=

=
(cm)

ตำแหน่ง
(cm)

ระยะx

ตำแหน่ง ระยะ

ก๊าซ
ไฮโดรเจน

สีแดง 88.0 38.0 14.0 36.0 37.0 106.6 0.35 6.6x10-5
สีน้ำเงิน 77.0 27.0 23.0 27.0 27.0 103.6 0.26 4.9x10-5
สีม่วง 73.0 23.0 26.0 24.0 23.5 102.7 0.23 4.3x10-5

ก๊าซ
นีออน

สีแดง 87.0 37.0 13.0 37.0 37.0 106.6 0.35 6.6x10-5
สีส้ม 85.5 35.5 14.5 35.5 35.5 106.1 0.33 6.2x10-5
สีเหลือง 83.5 33.5 16.0 34.0 33.75 105.5 0.32 6.0x10-5

สรุปได้ว่า

1. สเปกตรัมของแสงจากหลอดบรรจุก๊าซไฮโดรเจนและหลอดบรรจุก๊าซนีออน ลักษณะเหมือนกัน คือ  เป็นเส้นๆ แยกจากกัน แต่จะประกอบด้วยแสงสีต่างกัน เช่น ก๊าซไฮโดรเจนจะเห็นสีแดง น้ำเงิน และม่วง ส่วนก๊าซนีออนจะเห็นสีแดง สีส้ม และสีเหลือง เป็นต้น
2. สเปกตรัมของก๊าซชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยชุดของแสงสีเฉพาะ แตกต่างกับสเปกตรัมของก๊าซชนิดอื่นๆ ถือว่าเป็นสมบัติเฉพาะตัวของธาตุแต่ละชนิด
3. สเปกตรัมของก๊าซทั้งสองแตกต่างจากสเปกตรัมของหลอดไฟฟ้า เพราะสเปกตรัมของหลอดไฟเป็นสเปกตรัมต่อเนื่อง


<< Go Back