<< Go Back

เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบลักษณะการกระเจิงของอนุภาคแอลฟา

1. แม่เหล็กขั้วข้างแผ่นกลม(มีขั้วทางข้างหรือด้านบน)

2. ถาดลดแรงเสียดทาน

3. เม็ดพลาสติก

 

1. ใช้แม่เหล็กแผ่นกลมขนาดเท่ากันซ้อนกันหลายๆ ชั้น วางบนถาดลดแรงเสียดทาน เรียกแม่เหล็กนี้ว่า แม่เหล็ก A
2. โรยเม็ดพลาสติกลงบนถาดรอบแม่เหล็ก A แล้วเกลี่ยให้สม่ำเสมอ
3. วางแม่เหล็กอีกอันบนเม็ดพลาสติกโดยให้อยู่ในลักษณะที่มีแรงผลักระหว่างกัน เรียกแม่เหล็กอันที่สองนี้ว่า แม่เหล็ก a
4. กำหนด oo ผ่านแม่เหล็ก a เข้าหาแม่เหล็ก A ในแนว oo’ และขนานกับ oo’ หลายๆครั้ง โดยใช้แรงเท่าเดิมแต่ให้แนวการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก a ห่างจาก oo’ ต่างๆ กัน ดังรูป

5. สังเกตว่าแม่เหล็ก A มีการเคลื่อนที่หรือไม่ และแนวการเคลื่อนที่ของ แม่เหล็ก a เมื่อผ่านแม่เหล็ก A เป็นอย่างไร

ผลการทดลองที่ได้  คือ   แม่เหล็ก A และ a ต่างถูกแรงกระทำทั้งคู่ แต่แม่เหล็ก A  มีมวลมากกว่าจึงไม่เคลื่อนที่เป็นผลทำให้แม่เหล็ก a เปลี่ยนทิศไป ถ้าแนวการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก a ห่างจากแม่เหล็ก A มาก ก็จะเบนไปน้อย แต่ถ้าแนวการเคลื่อนที่เข้าไปใกล้ ก็จะเบนไปมากขึ้น หากแนวการเคลื่อนที่ตรงแนว oo’ แม่เหล็ก a จะวิ่งย้อนกลับได้
สรุปได้ว่า เส้นทางการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก a คล้ายกับเส้นทางเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟาเมื่อผ่านอะตอมของโลหะต่างๆ


<< Go Back