<< Go Back

แสงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความสว่างบนพื้นผิว โดยแหล่งกำเนิดแสงจะเปล่งพลังงานแสงออกมาในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า ฟลักซ์ส่องสว่าง (luminous Flux) หรือ “อัตราการให้พลังงานแสง” มีหน่วยเป็น ลูเมน (lumen; lm) เขียนแทนด้วย "F" ตามบ้านเรือนเราใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง

ความสว่างที่เกิดบนพื้นที่รองรับแสง เกิดจากฟลักซ์การส่องสว่าง หรืออัตราการให้พลังงานแสง ตกบนพื้นที่รองรับแสง หาได้จาก

F เป็น อัตราพลังงานแสงที่ตกตั้งฉากบนพื้น มีหน่วยเป็นลูเมน (lumen : lm)
A เป็น พื้นที่รับแสง มีหน่วยเป็นตารางเมตร
E เป็น ความสว่าง มีหน่วยเป็นลักซ์ (lux ; lx)

ตารางแสดงค่าฟลักซ์ของการส่องสว่าง

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า กำลังของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า อัตราการให้พลังงานแสง
ไฟหน้ารถจักรยาน 3 วัตต์ 30 ลูเมน
หลอดไส้ หลอดอาร์เจนต้า 75 วัตต์ 900 ลูเมน
หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ หลอดซูเปอร์คุ้ม 14 วัตต์ วอร์มไวท์ 800 ลูเมน
หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอด TL-D 36W/84 3350 ลูเมน
หลอดโซเดียมความดันสูง หลอด SON-T 100 วัตต์ 10000 ลูเมน
หลอดโซเดียมความดันต่ำ หลอด SOX-E 130 วัตต์ 26000 ลูเมน
หลอดเมอร์คิวรี่ความดันสูง หลอด HPL-N 1000 วัตต์ 58000 ลูเมน
หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอด HPI-T 2000 วัตต์ 190000 ลูเมน

จากตารางหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ที่กินไฟ 14 วัตต์ มีอัตราการให้พลังงานแสง 800 ลูเมน เกือบเท่ากับหลอดแบบไส้ ซึ่งกินไฟถึง 75 วัตต์ แสดงว่าการเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดแบบมีไส้ ทั้งที่ได้ความสว่างเท่าๆ กัน


รูปเครื่องวัดความสว่าง ( Lux meter )

http://www.scimath.org/lesson-physics/item/7277-2017-06-13-14-42-30

<< Go Back