<< Go Back

กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำเกิดจากฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำมีการเปลี่ยนแปลง เรียกการทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลักษณะนี้ว่า "การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า" (electromagnetic induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธินี้ว่า "กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced current)

ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งที่ใช้ทั่วไปตามบ้านเรือน หรือสถานที่ต่างๆ นั้น แทบทั้งหมดจะถูกผลิตขึ้นจากหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการเหนี่ยวนำ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนี้ เรามักจะคุ้นกับชื่อของไดนาโม
ไดนาโม คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยวิธีการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดนั้น
รูปร่างหน้าตาของไดนาโมมีหลายแบบ แต่หลักการเดียวกันคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก (ซึ่งเป็นไปตามกฏการเหนี่ยวนำของไมเคิล ฟาราเดย์)

เมื่อนำขดลวดตัวนำต่อกับแอมมิเตอร์ที่สามารถวัดกระแสไฟฟ้าค่าน้อยๆ ได้ และนำขดลวดนี้เคลื่อนที่เข้าใกล้หรือออกห่างแท่งแม่เหล็ก จะพบว่าขณะที่ขดลวดตัวนำเคลื่อนนั้น จะมีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการเบนของเข็มชี้ของแอมมิเตอร์ แต่ขณะที่ขดลวดตัวนำอยู่นิ่ง จะไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเป็นผลที่ได้จากแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เมื่อฟลักซ์แม่เหล็กผ่านที่ขดลวดตัวนำมีค่าเปลี่ยนแปลง จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นในขดลวดตัวนำ
ซึ่งเป็นผลให้มีกระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำนั้น  ไมเคิล ฟาราเดย์ ได้ทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ และฟลักซ์แม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลง และสรุปได้ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในขดลวด เป็นสัดส่วนกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดนั้น เมื่อเทียบกับเวลา ข้อความนี้เรียกว่า กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ (Faraday’s Law of Induction) เรียกสั้นๆ ว่า กฎของฟาราเดย์ ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของไฟฟ้าและแม่เหล็ก


การเคลื่อนที่ขดลวดทองแดงตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

https://sites.google.com/site/aomnadrada/bth-thi-3/5

<< Go Back