<< Go Back

วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit) คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจร แตกต่างกันไปดังนี้

วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit) เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจรแสดงดังรูป

การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้น ตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม การหาค่าความต้านทานรวมในวงจรแบบอนุกรม สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

R รวม = R1 + R2 + R3 + …

วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit) เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร แสดงดังรูป

การต่อต้วต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร การต่อตัวต้านทานแบบขนานสามารถเขียนสมการได้ดังนี้


วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit) เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความต้านทานรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน ลักษณะการต่อวงจรแบบผสม แสดงดังรูป


http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric4/topweek18.htm

<< Go Back