<< Go Back

การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

คือ เมื่อนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า เข้าไปใกล้วัตถุที่เป็นตำนำไฟฟ้าจะทำให้เกิดประจุชนิดตรงข้ามบนตัวนำทางด้านที่ใกล้วัตถุและเกิดประจุชนิดเดียวกันบนตัวนำทาง

ด้านที่ใกลวัตถุ ทำให้เกิดแรงระหว่างประจุทั้งแรงดึงดูด และแรงผลัก ดังนั้นการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า คือ การนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าใกล้วัตถุที่เป็นกลางแล้วทำให้วัตถุที่เป็นกลางเิกิดประจุชนิดตรงข้าม ที่ด้านใกล้ และประจุชนิดเดียวกันที่ด้านไกลออกไป และ เมื่อนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าออกห่างวัตถุที่เคยเป็นกลางจะกลีบเป็นกลางเช่นเดิม ดังรูป

เมื่อนำวัตถุที่มีประจุลบเข้าใกล้จานโลหะของอิเล็กโทรสโคป อิเล็กตรอนอิสระบนจานโลหะจะถูกผลัก ทำให้บริเวณจานโลหะมีประจุบวกเป็นส่วนใหญ่ และบริเวณก้านโลหะกับแผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปจะมีประจุลบเป็นส่วนใหญ่ นั่นคือ ประจุบนก้านโลหะกับแผ่นโลหะบางเป็นประจุชนิดเดียวกัน จึงส่งแรงผลักกัน ทำให้แผ่นโลหะบางกางออก ดังรูป 4.4

การที่แผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปกางออก เพราะเกิดการเหนี่ยวนำบนอิเล็กโทรสโคป นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เมื่อนำวัตถุที่มีประจุออกห่างจากอิเล็กโทรสโคป ประจุบนตัวนำของอิเล็กโทรสโคปจะเคลื่อนที่กลับ ทำให้เป็นกลางทางไฟฟ้าเช่นเดิม นั่นคือแผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปจะหุบเข้าหากัน

สนามไฟฟ้า
สนามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง

ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (อังกฤษ: capacitor หรือ อังกฤษ: condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

การทำงานของตัวเก็บประจุ
การเก็บประจุ
การเก็บประจุ คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ – ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น
การคายประจุ
ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกว่า “การคายประจุ”
ชนิดของตัวเก็บประจุ
ชนิดของตัวเก็บประจุแบ่งตามวัสดุการใช้งานแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
  1. ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor
  2. ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ Variable capacitor

วงจรตัวเก็บประจุ

 


https://caresskamonrat.wordpress.com/2015/06/18/20/

<< Go Back